
สรุป 4 กลยุทธ์ ศรีฟ้าเบเกอรี่ แบรนด์ท้องถิ่น จากกาญจนบุรี สู่การร่วมทุนกับบริษัทระดับโลก
17 ก.ค. 2025
วันนี้ BrandCase จะพาไปรู้จัก “ศรีฟ้าเบเกอรี่” แบรนด์เบเกอรีที่เริ่มต้นจากร้านเล็ก ๆ ของ คุณวิเชียร เจนตระกูลโรจน์ ในตลาดท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เมื่อปี 2529
ปัจจุบันศรีฟ้าเบเกอรี่กำลังก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศ และวางเป้าหมายสู่การเป็นเบอร์ 1 ในวงการร้านขนมปังอบสด
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นเมื่อปี 2552 เมื่อบริษัทเริ่มผลิตเค้กฝอยทองจำหน่ายใน 7-Eleven
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ธุรกิจเปลี่ยนจากร้านเล็ก ๆ มาสู่การพัฒนาระบบการผลิตและมาตรฐานระดับอุตสาหกรรม
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ธุรกิจเปลี่ยนจากร้านเล็ก ๆ มาสู่การพัฒนาระบบการผลิตและมาตรฐานระดับอุตสาหกรรม
โดยมีกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ คุณอาร์ท-พีรวัส เจนตระกูลโรจน์ ลูกชายคนโต ซึ่งให้ความสำคัญกับการลงทุนในเครื่องจักรและกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างจริงจัง
ปัจจุบัน “ร้านศรีฟ้าเบเกอรี่” ได้ขยายธุรกิจด้วยการเพิ่มรูปแบบแฟรนไชส์ร้านขนมปังอบสดเข้ามา
โดยมีสาขาทั้งหมด 62 สาขา และแบรนด์ตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้ 80 สาขาภายในสิ้นปีนี้
โดยมีสาขาทั้งหมด 62 สาขา และแบรนด์ตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้ 80 สาขาภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจนี้ ส่งผลให้รายได้รวมทุกธุรกิจในเครือ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” สูงกว่า 810 ล้านบาทในปีล่าสุด
ถ้าถามว่า อะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จของ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” BrandCase สรุปออกมาได้เป็น 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
1. พัฒนาแบรนด์ให้อยู่ได้ทุกยุค
โดยคุณอาร์ท บอกว่าบริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบรนด์อยู่เสมอ
จากร้านเบเกอรีท้องถิ่นที่เริ่มต้นจากการขายเค้กและขนมปังแบบบ้าน ๆ ศรีฟ้าเบเกอรี่ค่อย ๆ ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ ด้วยการพัฒนาสินค้า
ไปจนถึงการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมกับยกระดับการบริการให้เทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล
2. ลงทุนในคุณภาพและนวัตกรรม
คุณอาร์ทเปิดเผยว่า บริษัทได้ศึกษาแนวทางของผู้ผลิตเบเกอรีรายใหญ่ในต่างประเทศ และนำมาปรับใช้กับกระบวนการของตัวเอง
ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรอัตโนมัติ และระบบจัดการคลังสินค้า เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าในปริมาณมากได้ โดยที่ยังคงคุณภาพสม่ำเสมอในทุกล็อตการผลิต
3. เลือกทำในตลาดที่มีศักยภาพสูง
ในเชิงกลยุทธ์ ศรีฟ้าเบเกอรี่เริ่มจากการเจาะตลาด “Frozen Bakery” หรือ “เบเกอรีแช่แข็ง”
โดยสินค้ากลุ่มนี้มีข้อได้เปรียบหลักคือ เรื่องของอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน ทำให้สามารถขยายไปสู่ตลาดส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านขนมปังอบสด ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วประเทศได้อีกด้วย
4. จับมือกับพาร์ตเนอร์ที่แข็งแกร่ง
ในบทบาทผู้ผลิต ศรีฟ้าเบเกอรี่ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Minor Food Group ในการตั้งบริษัท Art Of Baking (AOB) เพื่อทำหน้าที่เป็นโรงงานสําหรับผลิตเบเกอรีระดับพรีเมียม จําหน่ายให้กับร้านเบเกอรี และโรงงานเบเกอรี ทั้งในไทยและต่างประเทศ
การเป็นพันธมิตรกับ Minor Food Group ไม่ได้ช่วยเฉพาะในด้านการผลิตเท่านั้น แต่ยังได้รับการสนับสนุนในการยกระดับการบริหารองค์กร การบริหารธุรกิจ และการปรับปรุงวินัยทางการเงิน
จนทำให้ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” สามารถประสบความสำเร็จและขึ้นมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศได้
จนทำให้ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” สามารถประสบความสำเร็จและขึ้นมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศได้
มากไปกว่านั้น “ศรีฟ้าเบเกอรี่” ยังได้ร่วมลงทุนจากบริษัท Europastry ผู้นำตลาดเบเกอรีแช่แข็งระดับโลก จากประเทศสเปน ที่นอกจากจะเชี่ยวชาญเรื่องการผลิตเบเกอรีแช่แข็งแล้ว ยังเป็นบริษัทผลิตโดนัทแช่แข็งอันดับหนึ่งของโลกอีกด้วย
การได้เป็นพันธมิตรกับ Europastry จะช่วยต่อยอดความรู้การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการยกระดับ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” ให้ก้าวข้ามการเป็นบริษัทระดับประเทศ ไปสู่บริษัทที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
อีกทั้งในบทบาทของร้านขนมปังอบสด “ศรีฟ้าเบเกอรี่” ก็กำลังขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ที่ยั่งยืน ร่วมกับนักธุรกิจระดับภูมิภาคทั่วประเทศ
โดยใช้จุดแข็งของตนเองในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการบริหารจัดการ ส่งต่อ Know-How และระบบบริหารจัดการ ไปจนถึงการดูแลหน้าร้าน ทำให้มีเมนูหลากหลาย และสินค้าออกใหม่ต่อเนื่อง ในราคาที่จับต้องได้
ส่งผลให้ “ศรีฟ้าเบเกอรี่” มีการขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว และคาดว่าภายในปลายปีนี้น่าจะมีมากกว่า 80 สาขา
แล้วผลประกอบการของ บริษัท ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด จำกัด ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง ?
ปี 2565 รายได้รวม 708 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้รวม 662 ล้านบาท กำไรสุทธิ 15 ล้านบาท
ปี 2567 รายได้รวม 813 ล้านบาท กำไรสุทธิ 51 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้รวม 662 ล้านบาท กำไรสุทธิ 15 ล้านบาท
ปี 2567 รายได้รวม 813 ล้านบาท กำไรสุทธิ 51 ล้านบาท
จากตัวเลขจะเห็นได้ว่า แม้รายได้จะมีการชะลอตัวเล็กน้อยในปี 2566 ซึ่งอาจมาจากราคาต้นทุนวัตถุดิบหรือการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ในขณะเดียวกัน กำไรสุทธิกลับปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน
ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการเน้นกลุ่มสินค้าที่ให้ Margin สูงขึ้น
และในปี 2567 บริษัท ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด จำกัด มีรายได้ดีดตัวขึ้นไปถึง 813 ล้านบาท พร้อมกำไรสุทธิ 51 ล้านบาท ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์การทำธุรกิจที่อาจดูไม่หวือหวาแต่ก็ไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ และเป็นสิ่งที่ทำให้ศรีฟ้าเบเกอรี่เติบโตมาตลอดเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา และนี่คืออีกหนึ่งบทเรียนของแบรนด์ไทย ที่เริ่มทำธุรกิจจาก Passion ด้วยการเปิดร้านเบเกอรีเล็ก ๆ ในตลาดท่าเรือ สู่บริษัทเบเกอรีที่มีมาตรฐานระดับโลกอย่างแท้จริง..