
อธิบายคำว่า ‘Same Store Sales Growth’ ศัพท์ธุรกิจสำคัญ ผ่านงบบริษัท After You
26 ก.พ. 2025
บมจ.อาฟเตอร์ ยู เจ้าของร้าน After You, Mikka, ลูกก๊อ และกาแฟ Song Wat Coffee Roasters
รายงานผลประกอบการ ปี 2567
- รายได้ 1,577 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กำไร 296 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
รายงานผลประกอบการ ปี 2567
- รายได้ 1,577 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กำไร 296 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สัดส่วนรายได้ของ บมจ.อาฟเตอร์ ยู ทุก ๆ 100 บาท ในปีที่ผ่านมา
- 82 บาท จากร้านขนมหวานและร้านเครื่องดื่ม
ทั้งในรูปแบบสินค้าปรุงสดหน้าร้าน, สินค้าซื้อกลับบ้าน และ Food Delivery
- 82 บาท จากร้านขนมหวานและร้านเครื่องดื่ม
ทั้งในรูปแบบสินค้าปรุงสดหน้าร้าน, สินค้าซื้อกลับบ้าน และ Food Delivery
- 13 บาท จากการขายสินค้าและวัตถุดิบ
เช่น การขายวัตถุดิบให้ร้านแฟรนไชส์ Mikka และร้าน After You ในต่างประเทศ, การขายสินค้าออนไลน์จากสำนักงานใหญ่, การรับจ้างผลิตต่าง ๆ รวมทั้งการขายผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven
เช่น การขายวัตถุดิบให้ร้านแฟรนไชส์ Mikka และร้าน After You ในต่างประเทศ, การขายสินค้าออนไลน์จากสำนักงานใหญ่, การรับจ้างผลิตต่าง ๆ รวมทั้งการขายผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven
- 4 บาท จากการขายและการจัดงานนอกสถานที่
เช่น การออก Pop-Up Store หรือบริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่
เช่น การออก Pop-Up Store หรือบริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่
- 1 บาท จากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
มาจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ร้าน After You ในฮ่องกงและกัมพูชา รวมทั้งแฟรนไชส์ร้าน Mikka
มาจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ร้าน After You ในฮ่องกงและกัมพูชา รวมทั้งแฟรนไชส์ร้าน Mikka
ทีนี้ลองมาดูสาเหตุการเติบโต ของรายได้และกำไร ของ After You
1. ยอดขายขนมหวานและเครื่องดื่ม เติบโต 22%
- โดยมาจากการที่ยอดขายสาขาเดิม หรือ Same Store Sales Growth (SSSG) เพิ่มขึ้น 11%, ยอดขายต่อบิลเพิ่มขึ้น และจำนวนสาขาร้าน After You ที่เพิ่มขึ้น 2 สาขา
- โดยมาจากการที่ยอดขายสาขาเดิม หรือ Same Store Sales Growth (SSSG) เพิ่มขึ้น 11%, ยอดขายต่อบิลเพิ่มขึ้น และจำนวนสาขาร้าน After You ที่เพิ่มขึ้น 2 สาขา
คำว่า SSSG สำคัญในมุมธุรกิจอย่างไร ?
SSSG เป็นตัวเลขที่แสดงการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม เพื่อเอาไว้ดูว่าสาขาที่เปิดมาก่อนหน้านี้มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างไรบ้าง
ถ้า SSSG ยังเป็นบวก หมายความว่ายอดขายของสาขาเดิมยังเติบโตได้
ซึ่งในมุมมองของนักลงทุน การเติบโตของ SSSG ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า การเติบโตที่เกิดจากการขยายสาขา
เพราะการขยายสาขาแม้จะเป็นวิธีที่ทำให้ยอดขายของบริษัทเติบโตได้เร็วก็จริง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการใช้เงินลงทุนสูงกว่าในการสร้างสาขาใหม่ขึ้นมา
เช่น ค่าก่อสร้างสาขา, ค่าเช่าสถานที่, ค่าสาธารณูปโภค
เช่น ค่าก่อสร้างสาขา, ค่าเช่าสถานที่, ค่าสาธารณูปโภค
ในขณะที่การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม มักจะใช้ค่าใช้จ่ายในการสร้างยอดขายน้อยกว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อย่างค่าก่อสร้างสาขานั้นเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว
2. ยอดขายสินค้าและวัตถุดิบ เติบโต 142%
- โดยเฉพาะช่องทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่เริ่มวางขาย “ขนมปังเนยโสด” ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้
- และยอดขายจากลูกค้าใหม่อย่าง การบินไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2567
- โดยเฉพาะช่องทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่เริ่มวางขาย “ขนมปังเนยโสด” ในเดือนกรกฎาคม ปี 2567 ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้
- และยอดขายจากลูกค้าใหม่อย่าง การบินไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2567
3. อัตรากำไรขั้นต้น เพิ่มขึ้น 0.9 %
- จากการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น โดยรวมทำให้เกิด “Economies of scale” หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ การที่ผลิตสินค้าหรือบริการยิ่งมากขึ้น ต้นทุนในการผลิตต่อหน่วย ยิ่งลดลง
- จากการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น โดยรวมทำให้เกิด “Economies of scale” หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ การที่ผลิตสินค้าหรือบริการยิ่งมากขึ้น ต้นทุนในการผลิตต่อหน่วย ยิ่งลดลง
ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทนั้น เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 65.7% จาก 64.8% ของช่วงเดียวกันของปีก่อน
4. สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายต่อรายได้รวม ลดลง 3.1%
- จากรายได้จากช่องทางอื่น นอกเหนือร้านขนมหวานและร้านเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่องทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่มีค่าใช้จ่ายในการขายต่ำกว่าการขายหน้าสาขา
- จากรายได้จากช่องทางอื่น นอกเหนือร้านขนมหวานและร้านเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่องทางร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่มีค่าใช้จ่ายในการขายต่ำกว่าการขายหน้าสาขา
ส่งผลให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายต่อรายได้รวม ลดลงจาก 30.3% เป็น 27.2 % ของช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. อัตรากำไรสุทธิที่ เพิ่มขึ้น 4%
- จากการที่รายได้มากขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ดี จนเกิด Economies of scale คือยิ่งผลิตสินค้ามากขึ้น ต้นทุนในการผลิตต่อหน่วย ยิ่งลดลง
ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิของบริษัท เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 18.5% จาก 14.5% ของช่วงเดียวกันของปีก่อน
Reference
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี 2567 บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน)
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี 2567 บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน)