
วิเคราะห์ Business Model ของร้าน ทุกอย่าง 20 บาท
11 ก.ค. 2025
ไม่ว่าจะยุคไหน สมัยไหน ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย มักมองหาสินค้าราคาย่อมเยา เพื่อประหยัดเงินในกระเป๋าตนเอง ทำให้รูปแบบร้านค้า จึงมีพัฒนาการที่แตกต่างจากในอดีต
หนึ่งในร้านลักษณะที่ว่านี้ คือ “ร้านทุกอย่าง 20 บาท” ที่เราจะชอบเห็น ๆ กัน
แล้วโมเดลธุรกิจ ของร้าน ทุกอย่าง 20 บาท เป็นแบบไหน ?
BrandCase ชวนทุกคนมาวิเคราะห์กัน
BrandCase ชวนทุกคนมาวิเคราะห์กัน
ต้องบอกว่า มีร้านที่ขายสินค้าทุกอย่าง 20 บาท หลายรายที่ต้องเจ็บตัว เพราะร้านเหล่านั้นเชื่อว่า การที่เน้นขายสินค้าราคาถูกเพียงอย่างเดียว จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านได้
แต่จริง ๆ แล้ว การขายสินค้าราคาถูก เป็นเพียงแค่หนึ่งในองค์ประกอบ ของโมเดลธุรกิจแบบนี้
เพราะยังมีอีกหลายเหตุผล ที่คนทำร้านลักษณะนี้ไม่ควรมองข้าม เช่น
เพราะยังมีอีกหลายเหตุผล ที่คนทำร้านลักษณะนี้ไม่ควรมองข้าม เช่น
-ความหลากหลาย ช่วยเฉลี่ยต้นทุนให้ร้าน ทำกำไรได้
แม้จะขายชิ้นละ 20 บาท เท่ากัน แต่แน่นอนว่าสินค้าหลายอย่าง ไม่น่าจะมีต้นทุนที่เท่ากัน
บางอย่างต้นทุนสูง ขายได้กำไรต่อชิ้นน้อย บางอย่างต้นทุนต่ำ ก็ขายได้กำไรต่อชิ้นสูง
หรือบางชิ้นมีไว้ขายให้ขาดทุนด้วยซ้ำ แต่ก็จำเป็นต้องมี เพื่อเพิ่มความหลากหลายหรือเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า
เช่น ถ้าลูกค้ามาซื้อสินค้า 3 ชิ้น
-ชิ้นที่ 1 ร้านขายขาดทุน 2 บาท
-ชิ้นที่ 1 ร้านขายได้กำไร 2 บาท
-ชิ้นที่ 1 ร้านขายได้กำไร 5 บาท
จะเห็นว่าสุดท้ายแล้ว ร้านค้าสามารถทำกำไรได้ 5 บาท
-ชิ้นที่ 1 ร้านขายขาดทุน 2 บาท
-ชิ้นที่ 1 ร้านขายได้กำไร 2 บาท
-ชิ้นที่ 1 ร้านขายได้กำไร 5 บาท
จะเห็นว่าสุดท้ายแล้ว ร้านค้าสามารถทำกำไรได้ 5 บาท
และจะเห็นว่า ขายขาดทุนบางชิ้นก็ไม่เป็นไร ถ้าขายชิ้นอื่นที่ได้กำไรเยอะไปด้วยได้
ประเด็นคือ จะจัดการต้นทุนอย่างไร จัดการสินค้าที่ขายอย่างไร ให้โดยเฉลี่ยแล้วสามารถทำกำไรในภาพรวมได้
-สินค้าในร้าน ต้องตอบโจทย์ลูกค้า ในแต่ละพื้นที่
เช่น ถ้าเราไปเปิดร้านทุกอย่าง 20 บาทบริเวณหน้าโรงเรียน
สินค้าภายในร้านก็ควรจะเป็นเครื่องเขียน กิฟต์ช็อป หรือสินค้าสำหรับเด็กเป็นส่วนใหญ่
สินค้าภายในร้านก็ควรจะเป็นเครื่องเขียน กิฟต์ช็อป หรือสินค้าสำหรับเด็กเป็นส่วนใหญ่
หรือถ้าเราไปเปิดร้านแบบนี้ในตลาด สินค้าภายในร้านก็ควรเป็น ถุง ถัง กะละมัง จาน หรือชาม
หรือถ้าไปเปิดร้านในบริเวณที่ชาวบ้านทำเกษตรกรรม ก็ควรมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมภายในร้าน
อีกประเด็นคือ แม้ว่าชื่อร้านจะเป็นร้านทุกอย่าง 20 บาท
แต่หลาย ๆ ร้านอาจเพิ่มสินค้าที่มีราคาเกิน 20 บาทเข้ามาด้วย ตามแต่ต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้านั้น ๆ
แต่หลาย ๆ ร้านอาจเพิ่มสินค้าที่มีราคาเกิน 20 บาทเข้ามาด้วย ตามแต่ต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้านั้น ๆ
แต่สิ่งสำคัญก็คือ สินค้าต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ในแต่ละพื้นที่ที่อาจมีความแตกต่างกัน และดึงดูดให้คนยอมจ่ายมากกว่า 20 บาท แล้วคุ้มค่า
-ให้ความสำคัญกับ ทำเล
แม้ร้านของเราจะขายสินค้าราคาถูก มีของครบ หลากหลาย แต่ถ้าทำเลที่ตั้งอยู่ไกลจากลูกค้ามาก ๆ ลูกค้าต้องเดินทางมาไกล พวกเขาก็คงรู้สึกไม่คุ้มค่าที่จะเดินทาง เพราะต้องเสียทั้งเวลา และค่าเดินทาง
ซึ่งเมื่อมาหักลบกับราคาสินค้าที่แม้จะถูก ก็ยังทำให้ลูกค้าไม่อยากเดินทางมาอยู่ดี
ดังนั้น ก่อนจะเปิดร้านทุกอย่าง 20 บาท ต้องแน่ใจว่ามีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม และลูกค้าสามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวกด้วย
-บริหารสต็อกสินค้า ให้ดี ๆ
คนทำร้านทุกอย่าง 20 บาท ต้องคอยสังเกตว่า สินค้าไหนขายดี หรือขายได้บ่อย เพื่อที่จะสามารถนำสินค้านั้น มาเติมไม่ให้ขาดบนชั้นวางสินค้า
สินค้าไหนที่ไม่จำเป็น หรือลูกค้าไม่ได้ซื้อใช้บ่อย ก็อาจสต็อกสินค้าในปริมาณน้อย สินค้าไหนที่กำลังได้รับความนิยมก็ควรสั่งมาขายให้มากตามความเหมาะสม
การสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า จะช่วยให้ร้านทุกอย่าง 20 บาท นั้น
ดึงดูดลูกค้า ให้เข้ามาซื้อสินค้าที่ร้านได้ถี่ขึ้น อีกด้วย
ดึงดูดลูกค้า ให้เข้ามาซื้อสินค้าที่ร้านได้ถี่ขึ้น อีกด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้ เราจะเห็นภาพรวมโมเดลของธุรกิจแบบนี้แล้ว
โดยจะเข้าใจว่า แม้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ “ราคาสินค้า” แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่เราต้องคิดก่อนที่จะเปิดร้านขายสินค้าราคาถูก
ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสินค้า ทำเลที่ตั้ง การสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า
เพื่อที่จะนำมาบริหารจัดการหลาย ๆ อย่างในร้าน ให้สุดท้ายแล้ว สามารถทำกำไรได้นั่นเอง..
เพื่อที่จะนำมาบริหารจัดการหลาย ๆ อย่างในร้าน ให้สุดท้ายแล้ว สามารถทำกำไรได้นั่นเอง..