สรุปงบ-โมเดลรายได้ เจ้าของ โอ้กะจู๋ ครึ่งแรกปีนี้ ก่อนหุ้น OKJ จะเริ่มเทรดในตลาดหุ้นวันแรก พรุ่งนี้
3 ต.ค. 2024
เจ้าของร้านสลัด โอ้กะจู๋ คือ บมจ.ปลูกผักเพราะรักแม่ นอกจากนั้นยังเป็นเข้าเจ้าของร้าน Ohkajhu Wrap & Roll และร้านสมูทที Oh! Juice
ซึ่ง บมจ.ปลูกผักเพราะรักแม่ กำลังจะเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันพรุ่งนี้ เป็นวันแรก (4 ต.ค. 2567)
แล้วงบการเงินครึ่งแรกปีนี้ของบริษัท มีตัวเลขอะไรสำคัญ ๆ บ้าง และโมเดลรายได้ของบริษัทนี้ เป็นอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ผลประกอบการ 6 เดือนแรก ปี 2567
- รายได้ 1,097.0 ล้านบาท +41.3 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- รายได้ 1,097.0 ล้านบาท +41.3 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กำไรขั้นต้น 488.5 ล้านบาท +36.3 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กำไรสุทธิ 102.4 ล้านบาท +38.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บริษัทได้รายงานว่า สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้รายได้และกำไรในช่วงครึ่งปีแรกเติบโตแบบนี้ มาจาก
1. การเปิดสาขาในรูปแบบ Full-service Restaurant เพิ่มขึ้นจำนวน 6 สาขา นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2566
2. บริษัทเริ่มรับรู้รายได้จากแบรนด์ใหม่เป็นครั้งแรก ได้แก่
- ร้าน Ohkajhu Wrap & Roll เริ่มเปิดสาขาแรก เมื่อเดือนเมษายน 2567
- ร้าน Oh! Juice เริ่มเปิดสาขาแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567
- ร้าน Ohkajhu Wrap & Roll เริ่มเปิดสาขาแรก เมื่อเดือนเมษายน 2567
- ร้าน Oh! Juice เริ่มเปิดสาขาแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567
อัตรากำไร ของบริษัท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- อัตรากำไรขั้นต้น ลดลงจาก 46.2% เป็น 44.5% ของรายได้รวม
- อัตรากำไรสุทธิ ลดลงจาก 9.5% เป็น 9.2 % ของรายได้รวม
- อัตรากำไรขั้นต้น ลดลงจาก 46.2% เป็น 44.5% ของรายได้รวม
- อัตรากำไรสุทธิ ลดลงจาก 9.5% เป็น 9.2 % ของรายได้รวม
สาเหตุที่ทำให้อัตรากำไรของบริษัทลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คือ
1. ต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้น จากค่าวัตถุดิบบางชนิดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้สัดส่วนต้นทุนขายเพิ่มขึ้นจาก 53.8% เป็น 55.5% ของรายได้รวม
2. มีการทำ Marketing Campaign เพิ่มขึ้น
เช่น ให้ส่วนลดค่าอาหารและเครื่องดื่มแก่ลูกค้าที่สมัครบัตรสมาชิก เพื่อเพิ่มฐานสมาชิกจากลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ และเพิ่มความผูกพันของลูกค้า
เช่น ให้ส่วนลดค่าอาหารและเครื่องดื่มแก่ลูกค้าที่สมัครบัตรสมาชิก เพื่อเพิ่มฐานสมาชิกจากลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ และเพิ่มความผูกพันของลูกค้า
3. ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น จากการเตรียมความพร้อมเพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทีนี้ลองมาดูโมเดลรายได้ 1,097 ล้านบาท ของเจ้าของโอ้กะจู๋ ช่วง 6 เดือนแรก ปี 2567
โดยแบ่งออกเป็น 3 แบรนด์ด้วยกัน ได้แก่
โดยแบ่งออกเป็น 3 แบรนด์ด้วยกัน ได้แก่
1.แบรนด์โอ้กะจู๋ สัดส่วน 99.3 %
แบ่งตามช่องทางการขายเป็น
- Full-service Restaurant สัดส่วน 93.4%
- Delivery and Kiosk สัดส่วน 3.5%
- Café Amazon สัดส่วน 1.9%
- Supermarket สัดส่วน 0.5%
- อื่น ๆ สัดส่วน 0.7%
แบ่งตามช่องทางการขายเป็น
- Full-service Restaurant สัดส่วน 93.4%
- Delivery and Kiosk สัดส่วน 3.5%
- Café Amazon สัดส่วน 1.9%
- Supermarket สัดส่วน 0.5%
- อื่น ๆ สัดส่วน 0.7%
2.แบรนด์ Ohkajhu Wrap & Roll สัดส่วน 0.1 %
3.แบรนด์ Oh! Juice สัดส่วน 0.6 %
จำนวนสาขาที่เปิดให้บริการของทั้ง 3 แบรนด์ ในเครือโอ้กะจู๋กัน
1.แบรนด์ โอ้กะจู๋ รวม 495 สาขา แบ่งเป็น
- Full-service Restaurant จำนวน 30 สาขา
- Delivery and Kiosk จำนวน 4 สาขา
- Café Amazon ที่มีโอ้กะจู๋ไปขาย จำนวน 450 สาขา
- Supermarket สัดส่วน 11 สาขา
- Full-service Restaurant จำนวน 30 สาขา
- Delivery and Kiosk จำนวน 4 สาขา
- Café Amazon ที่มีโอ้กะจู๋ไปขาย จำนวน 450 สาขา
- Supermarket สัดส่วน 11 สาขา
2.แบรนด์ Ohkajhu Wrap & Roll รวม 1 สาขา
3.แบรนด์ Oh! Juice รวม 2 สาขา
แต่ต้องหมายเหตุว่า จำนวนสาขาที่เราเห็นจากรายงาน คือจำนวน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ คือเดือนมิถุนายน 2567
ซึ่งต้องบอกว่า ช่วงหลังจากนั้นมา ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง
เช่น จำนวนหน้าร้านของแบรนด์ Oh! Juice ที่เปิดเพิ่มขึ้นมาหลายสาขาพอสมควร คือตอนนี้มีเพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 5-6 สาขาแล้ว
เช่น จำนวนหน้าร้านของแบรนด์ Oh! Juice ที่เปิดเพิ่มขึ้นมาหลายสาขาพอสมควร คือตอนนี้มีเพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 5-6 สาขาแล้ว
โดยสาขาแรกของ Oh! Juice ก็เปิดก่อนสิ้นไตรมาส 2 ไม่นาน คือวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว
Reference
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ของบริษัท
- คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ของบริษัท