
สรุปไอเดียใช้ กฎ 80/20 วัดผลว่า ไอเดียธุรกิจเรา เวิร์กไม่เวิร์ก จากเคสจริงของ เถ้าแก่น้อย
8 พ.ค. 2025
คุณอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ หรือ ต๊อบ CEO บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เพิ่งเล่าเรื่องนี้ในรายการ Company Snapshot ของ ลงทุนแมน
โดยเล่าผ่านเคส การพัฒนาสินค้าใหม่ หรือที่เรียกว่า NPD : New Product Development ของบริษัท เถ้าแก่น้อย
คุณต๊อบ บอกว่าที่เถ้าแก่น้อย ถ้าพัฒนาสินค้าใหม่ 100% คิดไว้แล้วว่า 80% fail ได้ แต่ก็พยายามให้มี 20% ที่สำเร็จ
ซึ่งสินค้าใหม่ที่สำเร็จ 20% มักจะครอบคลุม 80% ที่พลาดไปได้ และทำดี ๆ มีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต
ซึ่งสินค้าใหม่ที่สำเร็จ 20% มักจะครอบคลุม 80% ที่พลาดไปได้ และทำดี ๆ มีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต
ซึ่งคำว่า สินค้าใหม่ หรือ New Product หมายรวมตั้งแต่สินค้าใหม่ที่ไม่เคยทำเลย
รวมถึงสินค้าเดิม แต่ดีเทลใหม่ เช่นของเถ้าแก่น้อยก็คือ สาหร่ายอบ ทอด เหมือนเดิม แต่รสชาติใหม่
รวมถึงสินค้าเดิม แต่ดีเทลใหม่ เช่นของเถ้าแก่น้อยก็คือ สาหร่ายอบ ทอด เหมือนเดิม แต่รสชาติใหม่
-ทีนี้มาดูไอเดียการวัดผลว่า สินค้าใหม่ที่คิดมา เวิร์กไม่เวิร์ก แบบเถ้าแก่น้อย
คุณต๊อบ บอกว่า ทุกไตรมาสจะมีการทำ ‘Pareto Test’ คือกฎ 80/20
สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้ยินคำว่า Pareto Principle หรือ กฎ 80/20 สรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ
คือกฎที่บอกว่า ปัจจัยในสัดส่วนเพียง 20% ของทั้งหมด สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ในสัดส่วนกว่า 80% ได้
คือกฎที่บอกว่า ปัจจัยในสัดส่วนเพียง 20% ของทั้งหมด สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ในสัดส่วนกว่า 80% ได้
แต่ในโลกความเป็นจริง ความสัมพันธ์บางอย่างอาจจะไม่ได้เท่ากับ 80/20 แบบเป๊ะ ๆ แต่มีสัดส่วนใกล้เคียง หรือลู่เข้าหาตัวเลข 80/20 ก็ได้เหมือนกัน
เพราะแก่นของทฤษฎีนี้คือ “สิ่งเล็กน้อยจำนวนไม่มาก สามารถมีอิทธิพลในภาพรวมทั้งหมดได้”
เพราะแก่นของทฤษฎีนี้คือ “สิ่งเล็กน้อยจำนวนไม่มาก สามารถมีอิทธิพลในภาพรวมทั้งหมดได้”
วิธีการทำ Pareto Test ของเถ้าแก่น้อยคือ
เอาสินค้าทุกอย่างที่ TKN ทำมา รวมถึงสินค้าใหม่มากางดูยอดขายและความสามารถในการทำกำไร แล้วตัดเกรดเป็น เขียว เหลือง แดง
เอาสินค้าทุกอย่างที่ TKN ทำมา รวมถึงสินค้าใหม่มากางดูยอดขายและความสามารถในการทำกำไร แล้วตัดเกรดเป็น เขียว เหลือง แดง
-เขียว => ขายดี กำไรดี >> ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม 20% ที่ทำยอดขายได้ 80% และทำอัตรากไรได้ดีด้วย
-เหลือง => ขายดี แต่ทำกำไรบางมาก >> กลุ่มนี้เอามาลองปรับกลยุทธ์หรือดีเทลใหม่ คิดใหม่ว่าทำอย่างไรให้เป็นเขียว คือขายดีด้วย แล้วได้อัตรากำไรดีด้วย
-แดง => ขายไม่ดี ทำกำไรไม่ดีด้วย >> นี่คือกลุ่มที่ต้องทำใจตัดทิ้งไป ถ้าเป็นสินค้าใหม่ที่คิดมาแล้วไม่เวิร์กมาตกในกลุ่มนี้ ก็ต้องพิจารณาไม่ทำต่อ
เรื่องสำคัญคือ ต้องคอยมอร์นิเตอร์ คอยรีวิวยอดขาย กำไร ของแต่ละสินค้าอยู่เป็นระยะ ๆ และพยายามสร้างกลุ่มสีเขียวให้มากที่สุด
เพราะสุดท้ายจะทำให้ภาพรวมบริษัท มีรายได้ที่ดี พร้อมกับอัตรากำไรที่ดี ไปพร้อมกัน
ตัวอย่างเคสที่ Success เช่น
สาหร่ายท็อปปิงโรยข้าว ที่ตอนแรกคิดว่าลองทำมาขายดูแค่ล็อตเดียว (อาจจะตกกลุ่มสีแดง) แต่พอมารีวิวยอดขาย กำไร แล้วปรากฏว่า
กลายเป็นขายดี และทำ Margin หรืออัตรากำไรได้ และก็กลายเป็นอีกสินค้าตัวหลักในไทย ในปีที่ผ่านมา
กลายเป็นขายดี และทำ Margin หรืออัตรากำไรได้ และก็กลายเป็นอีกสินค้าตัวหลักในไทย ในปีที่ผ่านมา
แต่ก็จะมีอีกมุมคือ สินค้าจากเดิมเคยอยู่กลุ่มเขียว อาจจะกลายเป็นเหลืองได้ หรือจากเดิมเคยอยู่กลุ่มสีเหลือง อาจจะกลายเป็นกลุ่มสีแดงได้เหมือนกัน
เช่น ถ้ามีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้านั้น ก็อาจจะกดดันการทำกำไรของสินค้านั้นได้
ซึ่งก็จะเป็นตัวบอกให้ต้องกลับมาปรับแก้เกมกันต่อไป
เช่น ถ้ามีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้านั้น ก็อาจจะกดดันการทำกำไรของสินค้านั้นได้
ซึ่งก็จะเป็นตัวบอกให้ต้องกลับมาปรับแก้เกมกันต่อไป
สรุปแก่นหลัก ๆ ของ Pareto Test หรือใช้กฎ 80/20 มาเทสไอเดียธุรกิจเรา ว่าเวิร์กไม่เวิร์ก แบบภาษาง่าย ๆ คือ
-ลองทำ >> วัดผลหาตัวที่ทำน้อยได้เยอะ >> ตัดไอเดียที่ไม่ดีออก >> ปรับปรุงตัวที่มีศักยภาพให้ทำน้อยได้เยอะกว่าเดิม >> ทำวนไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ
พยายามสร้างสินค้าที่ทำน้อยได้มาก ทั้งในมุมรายได้และกำไร ให้ได้มากที่สุด..
พยายามสร้างสินค้าที่ทำน้อยได้มาก ทั้งในมุมรายได้และกำไร ให้ได้มากที่สุด..
Reference
-วิดีโอ ‘เถ้าแก่น้อย’ ซื้อหุ้น ‘เจ้าสัว’ จับมือรุกตลาดต่างประเทศ จาก YouTube Channel : ลงทุนแมน
https://www.youtube.com/watch?v=XjPSFI1NNRk&t=225s
-วิดีโอ ‘เถ้าแก่น้อย’ ซื้อหุ้น ‘เจ้าสัว’ จับมือรุกตลาดต่างประเทศ จาก YouTube Channel : ลงทุนแมน
https://www.youtube.com/watch?v=XjPSFI1NNRk&t=225s