
กรณีศึกษา โรงงานอิชิตัน ในมุมตัวเลขการผลิต กำไรเฉลี่ย ขวดละบาท กำไรทั้งบริษัท หลัก 1,000 ล้าน
17 เม.ย. 2025
บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปี 2567 รายได้ 8,671 ล้านบาท กำไร 1,306 ล้านบาท
และในปี 2567 ที่ผ่านมา โรงงานของ อิชิตันกรุ๊ป มีไลน์การผลิตเครื่องดื่มทั้งหมด 7 ไลน์ผลิต
และทั้งปี สามารถผลิตเครื่องดื่มส่งขายได้ประมาณ 1,140 ล้านขวด
และทั้งปี สามารถผลิตเครื่องดื่มส่งขายได้ประมาณ 1,140 ล้านขวด
แต่ในจำนวนนี้ คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตเพียง 76%
ของกำลังการผลิตทั้งหมด 1,500 ล้านขวดต่อปี
ของกำลังการผลิตทั้งหมด 1,500 ล้านขวดต่อปี
แล้วถ้าเราลองเอากำลังการผลิตที่ 1,500 ล้านขวด มาหารเป็นต่อวันดู
จากที่ คุณตัน ภาสกรนที เจ้าของอิชิตันกรุ๊ป เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ THE BRIEFCASE ของ ลงทุนแมน
ใน 1 ปี เครื่องจักรผลิตชาพร้อมดื่มอิชิตัน จะทำงาน 360 วัน
เท่ากับว่าใน 1 ปี เครื่องจักรมีวันหยุดเพียง 5 วันเท่านั้น
เท่ากับว่าใน 1 ปี เครื่องจักรมีวันหยุดเพียง 5 วันเท่านั้น
นั่นก็เท่ากับว่า ใน 1 วัน อิชิตันสามารถผลิตเครื่องดื่มได้ เท่ากับ 1,500 ล้านขวด / 360 วัน = 4,170,000 ขวดต่อวัน
ทีนี้ ถ้าเราลองเอากำลังการผลิตต่อวัน มาหารเป็นรายชั่วโมง รายนาที และรายวินาที
- ใน 1 ชั่วโมง โรงงานอิชิตัน ผลิตเครื่องดื่มได้ 174,000 ขวด
- ใน 1 นาที โรงงานอิชิตัน ผลิตเครื่องดื่มได้ 2,900 ขวด
- ใน 1 วินาที โรงงานอิชิตัน ผลิตเครื่องดื่มได้ 48 ขวด
- ใน 1 ชั่วโมง โรงงานอิชิตัน ผลิตเครื่องดื่มได้ 174,000 ขวด
- ใน 1 นาที โรงงานอิชิตัน ผลิตเครื่องดื่มได้ 2,900 ขวด
- ใน 1 วินาที โรงงานอิชิตัน ผลิตเครื่องดื่มได้ 48 ขวด
หมายความว่า ถ้าโรงงานอิชิตัน ผลิตได้แบบเต็มกำลัง 100%
ทุก ๆ 1 วินาที ก็จะสามารถผลิตได้ถึง 48 ขวด
ทุก ๆ 1 วินาที ก็จะสามารถผลิตได้ถึง 48 ขวด
แต่ตลอดทั้งปี 2567 โรงงานอิชิตัน ใช้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพียง 76%
เท่ากับว่าทุก ๆ 1 วินาที จะมีเครื่องดื่มออกมาจากไลน์ผลิตของโรงงานอิชิตัน ทั้งหมด 48 ขวดต่อวินาที x อัตรากำลังการผลิต 76% = 37 ขวด
ซึ่งแน่นอนว่า วิธีที่จะผลิตให้เครื่องดื่มออกมาในระดับวินาทีละหลายสิบขวดนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
ถ้าไม่มีการนำเครื่องจักรอัตโนมัติ และระบบสายพานลำเลียง เข้ามาใช้ในการผลิตแทบจะทั้งหมด
ถ้าไม่มีการนำเครื่องจักรอัตโนมัติ และระบบสายพานลำเลียง เข้ามาใช้ในการผลิตแทบจะทั้งหมด
โดยคุณตัน เคยให้สัมภาษณ์ว่า มองเห็นเรื่องนี้มาตั้งแต่ 14 ปีก่อนแล้ว ว่าต่อไปสายพานการผลิต จะถูกผลิตด้วยระบบอัตโนมัติแทบจะทั้งหมด
เมื่อเห็นอย่างนั้น คุณตัน ก็เลยเลือกใช้เงินลงทุนก้อนแรก ประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท
สร้างโรงงานชื่อ อิชิตัน กรีน แฟคทอรี
โดยนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการผลิตทั้งหมด และมีพนักงานในโรงงานเพียง 300 คน
สร้างโรงงานชื่อ อิชิตัน กรีน แฟคทอรี
โดยนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการผลิตทั้งหมด และมีพนักงานในโรงงานเพียง 300 คน
ซึ่งในยุคนั้น การนำระบบอัตโนมัติมาใช้แบบนี้ ยังไม่มีโรงงานไหนทำ มีที่โรงงานนี้เป็นที่แรก
โดยพนักงานในโรงงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้คนจริง ๆ
โดยพนักงานในโรงงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้คนจริง ๆ
อย่าง วิศวกร เช่น Industrial Engineer, Automation Engineer, ช่างซ่อมบำรุง พนักงาน R&D
และพนักงานหน้าไลน์ผลิตที่จำเป็นต้องใช้คนอยู่บ้าง เช่น พนักงานในกระบวนการสกัดชา
และพนักงานหน้าไลน์ผลิตที่จำเป็นต้องใช้คนอยู่บ้าง เช่น พนักงานในกระบวนการสกัดชา
สำหรับขั้นตอนการผลิตเครื่องดื่ม ก็จะมี 4 ขั้นตอนหลัก ๆ
นั่นคือ การสกัดชา การปรุงรสชาติ การบรรจุขวด และการควบคุมคุณภาพ
นั่นคือ การสกัดชา การปรุงรสชาติ การบรรจุขวด และการควบคุมคุณภาพ
เริ่มจากการสกัดชา โดยใบชาจะถูกลำเลียงเข้าหม้อต้ม
ด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิที่ทันสมัย หลังจากนั้น ก็จะทำให้ใบชานั้นเย็นและทิ้งไว้ให้ตกตะกอน
ด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิที่ทันสมัย หลังจากนั้น ก็จะทำให้ใบชานั้นเย็นและทิ้งไว้ให้ตกตะกอน
เมื่อสกัดเป็นน้ำชาได้แล้ว ชาก็จะถูกนำไปปรุงรสชาติด้วยส่วนผสมต่าง ๆ เช่น น้ำผึ้ง น้ำตาลทราย
โดยตั้งแต่ขั้นตอนการต้ม และผสมส่วนผสม ก็จะถูกทำในระบบปิดทั้งหมด
โดยตั้งแต่ขั้นตอนการต้ม และผสมส่วนผสม ก็จะถูกทำในระบบปิดทั้งหมด
และหลังจากนั้น ก็จะนำชาที่พร้อมดื่มแล้วไปบรรจุใส่ขวด แล้วติดสลาก
โดยทุกกระบวนการผลิต จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ หรือ QC
ก่อนที่จะนำไปแพ็กใส่กล่องเข้าสู่โกดังสินค้า
ก่อนที่จะนำไปแพ็กใส่กล่องเข้าสู่โกดังสินค้า
ซึ่งการเดินทางจากวัตถุดิบตั้งต้น จากใบชา แล้วลำเลียงสายพาน
ไปสู่การแพ็กเกจจิงเป็นกล่องเก็บในโกดังสินค้า ก็จะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ไปสู่การแพ็กเกจจิงเป็นกล่องเก็บในโกดังสินค้า ก็จะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ซึ่งในโรงงานอิชิตัน ก็จะมีไลน์ผลิตด้วยกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมด 7 ไลน์
โดยเครื่องจักรอัตโนมัติของแต่ละไลน์ จะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 600 ขวดต่อนาที
หมายความว่าใน 1 วินาที จะมีเครื่องดื่มออกจากไลน์ผลิต 10 ขวด
หมายความว่าใน 1 วินาที จะมีเครื่องดื่มออกจากไลน์ผลิต 10 ขวด
โดยที่ผ่านมาเครืออิชิตัน ได้ลงทุนสร้างโรงงานและเครื่องจักรอัตโนมัติไปแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท
มีค่าเสื่อมราคา จากเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตอัตโนมัติ ปีละกว่า 500 ล้านบาท
มีค่าเสื่อมราคา จากเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตอัตโนมัติ ปีละกว่า 500 ล้านบาท
ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขค่าเสื่อมราคา หลายคนก็อาจมองว่ามันเยอะมาก ๆ
แต่ถ้าเราลองไปเปรียบเทียบด้วย ปริมาณการผลิต ที่เครืออิชิตันสามารถผลิตได้ดู
อย่างเช่น
ในปี 2567 เครืออิชิตัน หักค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักรอัตโนมัติ ไป 551 ล้านบาท
และเครืออิชิตัน สามารถผลิตเครื่องดื่มได้ประมาณ 1,140 ล้านขวด
ในปี 2567 เครืออิชิตัน หักค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักรอัตโนมัติ ไป 551 ล้านบาท
และเครืออิชิตัน สามารถผลิตเครื่องดื่มได้ประมาณ 1,140 ล้านขวด
นั่นหมายความว่า ต้นทุนค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักรอัตโนมัติ ของเครืออิชิตัน
ก็จะอยู่ที่ 551 ล้านบาท / 1,140 ล้านขวด หรือเพียง 0.48 บาทต่อขวดเท่านั้น
ก็จะอยู่ที่ 551 ล้านบาท / 1,140 ล้านขวด หรือเพียง 0.48 บาทต่อขวดเท่านั้น
หรือเท่ากับว่าทุก ๆ เครื่องดื่มอิชิตัน 1 ขวด ก็จะมีต้นทุนค่าเสื่อมราคาอยู่ในนั้นเพียง 48 สตางค์
ซึ่งเคสนี้ ก็เป็นตัวอย่างของ Economies of scale ที่ถึงแม้ว่า จะมีการลงทุนในระดับหลายพันล้านบาท ในเครื่องจักรอัตโนมัติ
แต่เมื่อเราเอาเครื่องจักรอัตโนมัตินั้น ไปทำการผลิตทีละจำนวนมาก ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปี
ต้นทุนค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่สะท้อนออกมา ในรูปแบบค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยการผลิตนั้น
ก็จะลดเหลือน้อยมาก ๆ
ก็จะลดเหลือน้อยมาก ๆ
ทีนี้ เราลองไปดูกัน ว่าเครื่องดื่มอิชิตัน 1 ขวด น่าจะมีกำไรเท่าไร ?
เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องหาราคาขาย เฉลี่ยต่อขวดก่อน
ทั้งปี 2567 เครืออิชิตัน มีรายได้จากยอดขายเครื่องดื่ม อยู่ที่ 8,594 ล้านบาท
และทั้งปี สามารถผลิตเครื่องดื่มได้ 1,140 ล้านขวด
และทั้งปี สามารถผลิตเครื่องดื่มได้ 1,140 ล้านขวด
เท่ากับว่าปี 2567 ราคาขายเครื่องดื่ม เฉลี่ยต่อขวดอยู่ที่ 8,594 ล้านบาท / 1,140 ล้านขวด = 7.5 บาทต่อขวด
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า ราคานี้ เป็นราคาเฉลี่ยต่อขวดที่อิชิตันขายให้คู่ค้า เช่น ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจัดจำหน่ายต่อ อิชิตันเป็นโรงงานผลิต ไม่ได้จัดจำหน่ายเอง
ทีนี้ ถ้าเราลองเอาแว่นขยายไปส่องดูที่ ต้นทุนขาย Cost Of Goods Sold (COGS)
ต้นทุนขาย (COGS) เมื่อเทียบกับรายได้จากการขาย ทุก ๆ 100 บาท ของอิชิตัน กรุ๊ป ในปี 2567
- วัตถุดิบ และวัสดุสิ้นเปลือง 45.5 บาท
- ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 6.4 บาท
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 2.2 บาท
- ค่าสาธารณูปโภค (เชื้อเพลิงแก๊ส, ไฟฟ้า, ประปา) 4.1 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 0.4 บาท
- อื่น ๆ 15.7 บาท
- วัตถุดิบ และวัสดุสิ้นเปลือง 45.5 บาท
- ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 6.4 บาท
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 2.2 บาท
- ค่าสาธารณูปโภค (เชื้อเพลิงแก๊ส, ไฟฟ้า, ประปา) 4.1 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 0.4 บาท
- อื่น ๆ 15.7 บาท
รวม ๆ แล้วรายได้ทุก ๆ 100 บาท จะมีต้นทุนขายรวมทั้งหมด 74.3 บาท
คิดเป็นกำไรขั้นต้น อยู่ที่ 25.7 บาท
คิดเป็นกำไรขั้นต้น อยู่ที่ 25.7 บาท
เท่ากับว่า ถ้าคิดต้นทุนขายเป็นต่อขวด จากราคาขายส่งเฉลี่ยขวดละ 7.5 บาท
เมื่อหักต้นทุนขายแล้ว ก็จะคิดเป็นกำไรขั้นต้น เฉลี่ยขวดละ 1.9 บาท
เมื่อหักต้นทุนขายแล้ว ก็จะคิดเป็นกำไรขั้นต้น เฉลี่ยขวดละ 1.9 บาท
และเมื่อเราลองเอากำไรขั้นต้นไปหักด้วยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย เช่น
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้
แล้วคิดเป็นกำไรสุทธิ เฉลี่ยต่อขวด
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้
แล้วคิดเป็นกำไรสุทธิ เฉลี่ยต่อขวด
จะเห็นว่า เครืออิชิตัน จะทำกำไรจากการขายเครื่องดื่ม เฉลี่ยขวดละ 1.1 บาท
แต่เมื่อเอากำไรเฉลี่ยต่อขวด คูณจำนวนขวดที่ผลิตได้ 1,140 ล้านขวด
และรวมจากกำไรอื่น ๆ
และรวมจากกำไรอื่น ๆ
ทำให้ทั้งปี 2567 บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีกำไร 1,306 ล้านบาท เลยทีเดียว..
References
- รายงานประจำปี 2567 บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป
- Ichitan Opportunity Day 2024
- รายงานประจำปี 2567 บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป
- Ichitan Opportunity Day 2024