โมเดลธุรกิจ SAPPE บริษัทเครื่องดื่มไทย รายได้ 82% มาจากต่างประเทศ
25 ม.ค. 2024
โมเดลธุรกิจ SAPPE บริษัทเครื่องดื่มไทย รายได้ 82% มาจากต่างประเทศ | BrandCase
หลาย ๆ คนน่าจะรู้จักแบรนด์เครื่องดื่ม เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์
รวมถึงเครื่องดื่มน้ำผลไม้เคี้ยวได้ โมกุ โมกุ
รวมถึงเครื่องดื่มน้ำผลไม้เคี้ยวได้ โมกุ โมกุ
แต่รู้ไหมว่าจริง ๆ แล้วเจ้าของทั้งสองแบรนด์นี้ อย่าง บมจ.เซ็ปเป้ หรือที่หลายคนจะคุ้นในชื่อ SAPPE นั้น ไม่ได้มีรายได้หลักมาจากในไทย
แต่มาจากต่างประเทศ มากถึง 82%
แต่มาจากต่างประเทศ มากถึง 82%
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ?
BrandCase จะสรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะสรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ผลประกอบการของ บมจ.เซ็ปเป้
ปี 2563 รายได้ 3,324 ล้านบาท กำไร 380 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 3,713 ล้านบาท กำไร 411 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 4,899 ล้านบาท กำไร 653 ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2566 รายได้ 4,947 ล้านบาท กำไร 906 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 3,713 ล้านบาท กำไร 411 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 4,899 ล้านบาท กำไร 653 ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2566 รายได้ 4,947 ล้านบาท กำไร 906 ล้านบาท
โดยอ้างอิงจากข้อมูลปี 2565
ทางบริษัทมีผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ทั้งหมด 5 กลุ่มด้วยกัน นั่นก็คือ
ทางบริษัทมีผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ทั้งหมด 5 กลุ่มด้วยกัน นั่นก็คือ
ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มน้ำผลไม้ (มีและไม่มีชิ้นเนื้อ)
ได้แก่ โมกุ โมกุ, เซ็ปเป้ อโล เวร่า, น้ำมะพร้าวน้ำหอม ออล โคโค และกุมิ กุมิ by โมกุ โมกุ
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 81.4%ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม ได้แก่ เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ และเครื่องดื่มน้ำผสมวิตามินบลู
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 10.5%ผลิตภัณฑ์ประเภทผงพร้อมชงเพื่อสุขภาพและความงาม
ได้แก่ เพรียว คอฟฟี่, เพรียว คลอโรฟิลล์, สลิมฟิต คอฟฟี่ และ กาแฟ แม็กซ์ทีฟ
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 4.7%ผลิตภัณฑ์ขนมเพื่อสุขภาพ
ได้แก่ เซ็ปเป้ บิวติ เจลลี่, ซีแมกซ์, แม็กซ์ทีฟ เจลลี่, โมกุ โมกุ เจลลี่, กุมิ กุมิ เยลลี่, เพรียว พุดดิ้ง, ออลโคโค พุดดิ้ง, ลูกอมครูเพ็ญศรี, ลูกอมลิมิตเลส
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 2.8%ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอื่น ๆ
ได้แก่ เซ็ปเป้ อินโน ซายน์, เซ็ปเป้ x ตะขาบ, รูบี้ เลดี้, เครื่องหอมสมุนไพร สูดสุด, คีฟ ชาสมุนไพรใบกัญชง
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 0.6%
ได้แก่ โมกุ โมกุ, เซ็ปเป้ อโล เวร่า, น้ำมะพร้าวน้ำหอม ออล โคโค และกุมิ กุมิ by โมกุ โมกุ
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 81.4%ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม ได้แก่ เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ และเครื่องดื่มน้ำผสมวิตามินบลู
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 10.5%ผลิตภัณฑ์ประเภทผงพร้อมชงเพื่อสุขภาพและความงาม
ได้แก่ เพรียว คอฟฟี่, เพรียว คลอโรฟิลล์, สลิมฟิต คอฟฟี่ และ กาแฟ แม็กซ์ทีฟ
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 4.7%ผลิตภัณฑ์ขนมเพื่อสุขภาพ
ได้แก่ เซ็ปเป้ บิวติ เจลลี่, ซีแมกซ์, แม็กซ์ทีฟ เจลลี่, โมกุ โมกุ เจลลี่, กุมิ กุมิ เยลลี่, เพรียว พุดดิ้ง, ออลโคโค พุดดิ้ง, ลูกอมครูเพ็ญศรี, ลูกอมลิมิตเลส
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 2.8%ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอื่น ๆ
ได้แก่ เซ็ปเป้ อินโน ซายน์, เซ็ปเป้ x ตะขาบ, รูบี้ เลดี้, เครื่องหอมสมุนไพร สูดสุด, คีฟ ชาสมุนไพรใบกัญชง
คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 0.6%
นั่นหมายความว่า รายได้หลักของทาง SAPPE นั้น ก็มาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มน้ำผลไม้ (มีและไม่มีชิ้นเนื้อ) เป็นหลัก
และที่น่าสนใจคือ มียอดขายหลัก ๆ ส่วนใหญ่มาจาก ต่างประเทศ
โดยอ้างอิงจากข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2566 นั้น ทางบริษัทมีรายได้จาก
ในประเทศ 17.5%ต่างประเทศ 82.5%
ซึ่งถ้าเทียบกับปี 2563 นั้น ทางบริษัทมีรายได้จากต่างประเทศอยู่ที่ราว 55% เท่านั้น
โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ยอดขายในต่างประเทศเติบโตได้ดีนั้นเป็นผลมาจาก
การเลือกคู่ค้าในต่างประเทศ
ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเอาใจใส่ในเรื่องของการขนส่งสินค้าให้ราบรื่นมากขึ้นตั้งเป้าในการชูแบรนด์ของตัวเอง
หลายคนอาจจะคิดว่า SAPPE นั้น ต้องเติบโตในต่างประเทศด้วยการ OEM
ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเอาใจใส่ในเรื่องของการขนส่งสินค้าให้ราบรื่นมากขึ้นตั้งเป้าในการชูแบรนด์ของตัวเอง
หลายคนอาจจะคิดว่า SAPPE นั้น ต้องเติบโตในต่างประเทศด้วยการ OEM
แต่ความจริงแล้ว สินค้าหลักที่ขายดีในต่างประเทศ คือแบรนด์ที่เราคุ้น ๆ กัน อย่าง โมกุ โมกุ และเครื่องดื่มผสมว่านหางจระเข้ เซ็ปเป้ อโล เวร่า
ทั้งนี้ก็เป็นเพราะทาง SAPPE มีความคิดที่อยากจะปั้นแบรนด์ของตัวเอง เพื่อเจาะตลาดต่างประเทศมากกว่าการรับผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆ
โดยในเรื่องของการตลาดนั้นก็ยังเน้น การสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ และเน้นทดลองกับผู้บริโภคจริง เพื่อให้รู้ว่า คนในแต่ละประเทศนั้น ชอบเครื่องดื่มประเภทไหน
ปัจจุบันสัดส่วนรายได้จากแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ นั้นแบ่งเป็น
เอเชีย 36.0%ยุโรป 30.0%ตะวันออกกลางและอื่น ๆ 11.9%ไทย 17.5%อเมริกา 4.6%
โดยทวีปที่มีการเติบโตมากที่สุดก็คือ ในแถบยุโรป ที่มียอดขายเติบโตขึ้นถึง 136% เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2566
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของ บมจ.เซ็ปเป้ เจ้าของเครื่องดื่มสุขภาพ สัญชาติไทย ที่ตอนนี้มีรายได้กว่า 82% มาจากต่างประเทศ
References
-https://www.set.or.th/th/market/product/stock/quote/SAPPE/company-profile/information
-แบบ 56-1 ปี 2563, บมจ.เซ็ปเป้
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บมจ.เซ็ปเป้
-https://www.set.or.th/th/market/product/stock/quote/SAPPE/company-profile/information
-แบบ 56-1 ปี 2563, บมจ.เซ็ปเป้
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บมจ.เซ็ปเป้