ถอดแนวคิด ผู้บริหาร SCG Decor เจ้าของแบรนด์ COTTO ที่กำลังจะ IPO

ถอดแนวคิด ผู้บริหาร SCG Decor เจ้าของแบรนด์ COTTO ที่กำลังจะ IPO

21 ก.ย. 2023
SCG Decor x BrandCase
หากเราอยากเลือกซื้อกระเบื้องสวย ๆ หรือสุขภัณฑ์สำหรับใช้ในบ้าน
แน่นอนว่า แบรนด์แรก ๆ ที่ใครหลายคนต้องนึกถึงคือ COTTO ของบริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ซึ่งเดิมที COTTO เป็นแบรนด์ที่มีสินค้าหลักที่โดดเด่น คือ กระเบื้องเซรามิก สำหรับปูพื้น บุผนัง และสินค้าตกแต่งพื้นผิวอื่นๆ (Decor Surfaces)
แต่วันนี้ COTTO ของเครือ SCG จะอยู่ภายใต้บ้านหลังใหม่ ที่ใหญ่กว่าเดิม
ด้วยการรวมเอาธุรกิจที่เกี่ยวกับ กระเบื้อง สินค้าตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์ ที่มีตั้งแต่โรงงานผลิต ไปจนถึงร้านค้าปลีกสินค้าแบรนด์ของตัวเอง ทั้งหมดในภูมิภาคอาเซียน
ซึ่งปัจจุบันมีธุรกิจอยู่ในไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้าไว้ด้วยกัน
กลายเป็นบริษัทชื่อ SCG Decor หรือ SCGD
ซึ่งได้ยื่นไฟลิ่งเพื่อ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว โดยมีชื่อย่อว่า SCGD
SCGD มีความน่าสนใจอย่างไร?
หลังจาก IPO แล้วจะใช้กลยุทธ์ไหน ในการบุกตลาดอาเซียน?
BrandCase จะพาไปพูดคุย กับคุณนำพล มลิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD
ต้องบอกว่า นอกจาก SCGD หรือแบรนด์ COTTO
จะเป็นแบรนด์สินค้าตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์อันดับ 1 ของคนไทยแล้ว
ทาง SCGD ยังได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดเวลา
ซึ่งจากที่ทางทีมงาน ได้พาไปเยี่ยมชมโชว์รูม COTTO LiFE นั้น
ก็มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ อย่างเช่น
- AIR ION กระเบื้องฟอกอากาศดักจับฝุ่น PM2.5
เป็นนวัตกรรมที่ทาง SCGD ได้คิดค้นขึ้น ในช่วงที่บ้านเรากำลังมีปัญหาเรื่องฝุ่น อย่าง PM2.5 ที่เกิดขึ้นทุกปี
โดยทาง R&D ได้คิดค้นกระเบื้องฟอกอากาศที่มีสารเคลือบกระเบื้องที่พร้อมปล่อยประจุลบออกมาดักจับฝุ่น PM2.5 ภายในห้องนั้นให้ตกลงพื้น เพื่อให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายยิ่งขึ้น
- “Hygienic Tile” นวัตกรรมกระเบื้อง ป้องกันการขยายตัวของแบคทีเรีย
โดยกระเบื้องแบบนี้ ใช้วิธีการเคลือบผิว ด้วยสาร Silvernano ที่จะไม่ให้เชื้อแบคทีเรีย ขยายตัวออกไป
เหมาะสำหรับเด็กที่วิ่งเล่น หรือกลิ้งบนพื้นภายในบ้าน
- กระเบื้องกันลื่น ไว้ใช้ปูในห้องน้ำสำหรับบ้านผู้สูงอายุ
ซึ่งคุณนำพลก็ได้เสริมว่า ตลาดของกระเบื้องมีความแตกต่างกัน ในแต่ละยุคสมัย
ถ้าเป็นในยุคก่อน จะเน้นเพียงกระเบื้องที่มีความสวยงาม
แต่สำหรับยุคนี้ กระเบื้องที่ดี จะต้องมีฟังก์ชันการใช้งานที่ดีด้วย อย่างเช่น สามารถดักจับฝุ่น หรือกันลื่นได้
นอกจากนี้ SCGD ยังมี COTTO ECO COLLECTION ซึ่งเป็นกระเบื้องที่มีนวัตกรรมการผลิต ด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพราะโดยปกติแล้ว กระเบื้องจะใช้ดินมาผลิต แต่สำหรับ Collection นี้จะผลิตโดยการนำดินตะกอน จากการผลิตน้ำประปามาใช้ ซึ่งดินตะกอนจากน้ำประปา ที่จะนำมาผลิตเป็นกระเบื้อง ก็ถือเป็น Zero Wasted อย่างหนึ่ง
คุณนำพล ยังเสริมด้วยว่า สำหรับธุรกิจ SCGD ในอนาคตจะไปไกลมากกว่า การผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิก ที่เป็นรายได้หลัก
ปัจจุบัน SCGD ก็มีสินค้ารูปแบบใหม่ นั่นคือ
SPC หรือ Stone Plastic Composite ซึ่งก็คือกระเบื้องแบบพิเศษ
เป็นกระเบื้องไวนิล แบรนด์ LT by COTTO ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง มี Material Base เป็นพลาสติก
ให้ความรู้สึกนิ่มเท้าเวลาเดิน มีลักษณะคล้ายกับพื้นไม้
และที่สำคัญ กระเบื้องแบบนี้จะมีความยืดหยุ่นสูง และไม่บวมน้ำเหมือนกับไม้ลามิเนตทั่วไป
ซึ่งทาง SCGD คิดเสมอว่า เวลาที่ลูกค้าเข้ามา เขาไม่ได้มาซื้อกระเบื้อง
แต่ลูกค้าเขามาหาพื้น และผนังที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด
สำหรับสุขภัณฑ์ ก็ต้องบอกว่า
ผู้คนเริ่มมองหาความ Smart หรือระบบอัตโนมัติ มาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตมากขึ้น
อย่างสุขภัณฑ์รุ่น VERZO ที่ตัวผลิตภัณฑ์ ก็จะเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด
ตั้งแต่การเปิด-ปิดฝาชักโครก ระบบชำระล้าง ไปจนถึงก้านฉีดชำระแบบอัตโนมัติ เพื่อลดการสัมผัส
ด้วยจุดเด่นของนวัตกรรมดังกล่าว ทำให้สุขภัณฑ์รุ่น VERZO
ได้รับรางวัลอันดับ 1 จาก Marketeer และ Product Innovation Awards ปี 2022
สำหรับเรื่อง Health & Wellness
ทาง SCGD ก็ได้นำเสนอนวัตกรรม กระจกวิเศษสำหรับติดในห้องน้ำ
ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กระจกทั่ว ๆ ไป
แต่กระจกวิเศษนี้ จะเป็นกระจกอัจฉริยะที่สามารถ Tracking หรือแสดงข้อมูลต่าง ๆ ได้
เราสามารถชั่งน้ำหนัก แล้วให้ข้อมูลไปแสดงเป็นตัวเลขหน้ากระจก
รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของเรา เช่น ปริมาณน้ำในร่างกาย หรือรายงานสภาพอากาศ
หรือจะดู TikTok ในระหว่างที่เรากำลังทำธุระในห้องน้ำ เป็นต้น
ซึ่งสำหรับสุขภัณฑ์ต่าง ๆ ในห้องน้ำ
ทาง SCGD ก็จะเน้นในเรื่อง Touchless คือระบบไร้การสัมผัสทั้งหมด
มาถึงตรงนี้ ก็พอจะเห็นภาพรวม ของนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทาง SCGD ได้คิดค้นขึ้น
โดยทีมนักวิจัยทั้งหมดกว่า 250 คน ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่า SCGD ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่
การเป็นเจ้าตลาดเซรามิกและสุขภัณฑ์ในไทยเท่านั้น
แต่ SCGD ต้องการตั้งเป้าหมายว่า อยากเป็นบริษัทที่เป็นมากกว่าเซรามิก ด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย
และรุกตลาดสุขภัณฑ์ เพื่อให้ก้าวไปไกลในระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบัน SCGD เป็นผู้นำตลาดเซรามิก
ในประเทศต่างๆ ในอาเซียน อย่างเวียดนาม หรือฟิลิปปินส์ด้วยแบรนด์ดังที่คนในพื้นที่ต้องคุ้นเคย
ยกตัวอย่างเช่น สำหรับแบรนด์กระเบื้อง ที่คนไทยหลายคนรู้จักคือ COTTO
ส่วนประเทศเวียดนาม แบรนด์กระเบื้องชื่อแรกที่ทุกคนนึกถึง ก็คือแบรนด์ Prime นั่นเอง
ซึ่งแบรนด์ Prime ก็เป็นกระเบื้องแบรนด์หนึ่ง ที่ SCGD เป็นเจ้าของด้วยเช่นเดียวกัน
ก็ต้องบอกว่า การรวมเครือข่ายของวัสดุตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์ จากทุก ๆ ตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน มารวมกัน
จะทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของตลาดได้กว้างขึ้น และทำให้เกิด Synergy ที่ดีต่อกัน
เพราะสินค้าแบรนด์หนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเจาะตลาดเพียงแค่ในประเทศอย่างเดียว
แต่อาจเจาะตลาดประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคด้วยก็ได้
เช่น แบรนด์ COTTO ของไทย ก็มีโอกาสขยายตลาดไปทั่วอาเซียน
หรือ แบรนด์ Prime ก็อาจจะมีโอกาสมาทำตลาดที่เมืองไทย ถ้าเจอกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสม
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้ SCGD กลายเป็นผู้นำระดับ Regional โดยสมบูรณ์
- แล้ว Segment อย่างตัวกระเบื้องเซรามิก และสุขภัณฑ์
ทาง SCGD มองเห็นโอกาสในการเติบโตแค่ไหน?
ก็ต้องบอกว่า โดยภาพรวมทั้งหมด ตลาดของวัสดุตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์ ก็ยังคงเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในต่างประเทศ
ที่ SCGD ได้ไปทำตลาด อย่าง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซีย
นอกจากนี้ การขยายตลาด ทำให้จากเดิมที่เจาะคนไทยเพียงแค่ 70 ล้านคน
ก็กลายเป็นเจาะตลาดประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่มีประชากรทั้งหมดรวมประเทศไทยกว่า 560 ล้านคน
ซึ่งตรงนี้ก็เป็นโอกาสทองของ SCGD ที่สามารถขยายตลาดไปยังประเทศกลุ่มนี้
และที่สำคัญ คือตลาดนอกประเทศส่วนใหญ่ยังคงเติบโต ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อกลุ่มบริษัท และนักลงทุน
ซึ่งโมเดลของ SCGD คือเป็นทั้งผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้า
โดยมีโรงงานใน 4 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
โดยโรงงานจะมีทั้ง ผลิตขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย
ปัจจุบัน SCGD ส่งออกสินค้าตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ไปต่างประเทศกว่า 57 ประเทศ
- แล้วทาง SCGD ในฐานะทั้ง Regional Player และ Global Player
จะรับมือกับคู่แข่งจากภูมิภาคอื่น อย่างประเทศจีน หรืออินเดีย ที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าได้อย่างไร?
จริง ๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่า ในตลาดกระเบื้องและของตกแต่งบ้าน ในตอนนี้ จีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่
และในตอนนี้ ก็มีผู้เล่นที่เรียกได้ว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ นั่นคือ อินเดีย
ซึ่งดูเหมือนว่า ทั้ง 2 ประเทศนี้ จะเป็นคู่แข่งที่จะเข้ามาตีตลาด
แต่ในทางกลับกัน SCGD ก็มองด้วยว่า
จะสามารถดึงส่วนที่เป็นจุดเด่นในผลิตภัณฑ์ของเขา มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
ปัจจุบัน SCGD ก็จะนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากจีน แล้วมาขายในแบรนด์ของ SCGD
และนำดีไซน์ของผลิตภัณฑ์ใหม่ของ SCGD ไปให้โรงงานในอินเดียช่วยผลิตให้
โดยตอนนี้ SCGD นำเข้ากระเบื้องเซรามิก จากประเทศจีน และอินเดียเป็นอันดับ 1
ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ทาง SCGD ไม่ได้มองประเทศอื่นว่าเป็นคู่แข่ง แต่มองว่าเป็นพาร์ตเนอร์
ที่คอยช่วยเหลือกันทางธุรกิจมากกว่า
ที่สำคัญ “ก่อนจะผลิตสินค้าใหม่ ๆ สักตัว เราจะต้องทำตลาดให้ดีก่อน”
SCGD จะเอาความต้องการของลูกค้า และตลาดเป็นตัวตั้ง
แล้วก็จะดูว่า สินค้าอะไรที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด
ซึ่งถ้าโรงงานของ SCGD ผลิตเอง แล้วรู้สึกว่ายังไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต หรือยังขายได้ไม่มาก
ก็จะเน้นไปที่การ Sourcing หรือการนำเข้าสินค้าเป็นหลัก
และถ้าพอถึงจุดหนึ่ง สเกลใหญ่มากพอที่จะสามารถผลิตสินค้าทีละมาก ๆ ได้แล้ว
เราก็จะเริ่มพิจารณาว่าถ้าเราทำการตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าเอง แล้วสามารถมีต้นทุนที่แข่งขันได้ เราก็จะพิจารณาตั้งโรงงานต่อไป
อย่างเช่น สินค้าใหม่อย่าง กระเบื้อง SPC ถ้าเราเริ่มทำการผลิตเลย ก็จะมีความเสี่ยง
แต่ถ้าหากว่า เราลองทำตลาดกระเบื้อง SPC เพื่อให้ลูกค้ารู้จัก และคุ้นเคยในระดับหนึ่งก่อน
แล้วค่อยมาผลิตทีหลัง การทำแบบนี้จะทำให้เติบโตอย่างยั่งยืนมากกว่า
ซึ่งการทำแบบนี้ ก็เหมือนเป็นการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน Know-how จากเจ้าอื่น ๆ ไปในตัวด้วย
นอกจากนี้ คุณนำพล ก็ยังได้เสริมอีกว่า SCGD มีความเข้มแข็งในเรื่องช่องทางการจัดจำหน่าย
ซึ่ง SCGD มีช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ทั้งหน้าร้าน และระบบออนไลน์ทั่วภูมิภาคอาเซียน
และที่สำคัญ ตลาดอาเซียน เป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และยังเติบโตได้
ด้วยข้อได้เปรียบตรงนี้ ทำให้ SCGD สามารถขายสินค้าได้ง่าย และมีโอกาสเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
- SCGD มีแบรนด์เซรามิก และสุขภัณฑ์
เป็นเบอร์ 1 ในไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเป็น Top Tier ในระดับอาเซียน
คำถามคือ ใหญ่แล้ว ยังอยากจะไปไหนต่อได้อีก?
ก็ต้องบอกว่า SCGD เป็นที่ 1 ของอาเซียน ในด้านตลาดเซรามิกอยู่แล้ว
แต่สำหรับสุขภัณฑ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเบอร์ 1 ที่เมืองไทย
ก็สำหรับในประเทศอื่น ก็ยังถือว่ามีส่วนแบ่งการตลาดที่ค่อนข้างน้อย คือยังไม่ถึง 5% เลย
ซึ่งกลยุทธ์แรกก็คือ การทำตลาดของสุขภัณฑ์ อย่างแบรนด์ COTTO ให้เติบโต
ในประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียให้ได้
ซึ่งช่องทางการจัดจำหน่าย ที่มีอยู่ของ SCGD รวมถึงการทำตลาดต่าง ๆ
สามารถทำให้สินค้าต่าง ๆ ของเรา เข้าไปตีตลาดในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
สำหรับสินค้าเซรามิก แน่นอนว่า ตอนนี้เรามองไปไกลกว่า การขายเซรามิกเพียงอย่างเดียวแล้ว
ปัจจุบันเรามองเหมือนเป็น “Decor Surfaces” ซึ่งก็คือ วัสดุที่ใช้ตกแต่งพื้นผิวส่วนต่าง ๆ ภายในบ้าน อย่าง Countertop หรือ Top ของโต๊ะ และผนัง เป็นต้น
และก็มีนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างกระเบื้อง SPC/LVT ก็ได้พูดถึงไป
ซึ่งสินค้าเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
SCGD มอง Local Player หรือคู่แข่งที่อยู่ในพื้นที่
เวียดนาม ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซียอย่างไร?
ก็ต้องบอกว่า SCGD เรามีข้อได้เปรียบในเรื่องของ Network
คือเรามีโรงงานอยู่ใน 4 ประเทศ แถมยังมีระบบจัดจำหน่ายที่ดี และมีบุคลากรที่กระจายอยู่ทั้งภูมิภาค
พอคนทั้งหมด มาอยู่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้นโยบายเดียวกัน
เราก็สามารถ Leverage สิ่งที่เรามีได้ทันที
คือสามารถสนับสนุนงาน ซึ่งกันและกัน เพิ่ม Productivity และสามารถเติบโตไปด้วยกันได้ง่าย
อีกอย่างคือ การรวมตัวของหลังบ้าน
ก็จะทำให้เรามีอำนาจต่อรองกับ Supplier หรือร้านค้าต่าง ๆ มากขึ้นด้วย
- หลังจากที่ปรับโครงสร้างบริษัทใหม่แล้ว
เราจะบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร?
ต้นทุน ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ
ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบในการผลิต การรวมโรงงานผลิตเข้าด้วยกันเป็นบริษัทเดียว
ทำให้เวลาสั่งวัตถุดิบ ก็จะมีจำนวนที่มากขึ้น
จากเดิมมีโรงงานในไทยประเทศเดียว ก็ขยายเป็น 4 ประเทศ
ซึ่งจาก 1 เป็น 4 ก็จะทำให้เราสามารถสั่งวัตถุดิบได้เยอะขึ้น
และเกิด Economies of Scale ที่ทำให้ราคาต่อชิ้นถูกลง และสามารถขอต่อราคากับ Supplier ได้ง่ายขึ้น
เรื่องต่อมาคือ การโยกย้ายฐานการผลิต
ก็ต้องบอกว่า พอรวมโรงงานทั้ง 4 ประเทศเข้าด้วยกัน
ก็ทำให้เรามองเห็นโครงสร้างต้นทุนที่เกิดขึ้นของโรงงานแต่ละแห่ง และเราก็จะรู้ว่า
โรงงานไหนถนัดผลิตอะไร เราก็จะเอางานไปให้โรงงานนั้นผลิต
รวมถึงเราสามารถ Optimize หรือให้ทั้ง 4 โรงงานคอยประสานงานซึ่งกันและกัน
เพื่อประสิทธิภาพในการผลิต
ยกตัวอย่างเช่น ฟิลิปปินส์ ที่ปกติจะผลิตงานทุกรุ่น ทุกไซซ์
แล้วจะต้องมีการเปลี่ยนไซซ์ที่จะผลิตบ่อย ๆ ทำให้เสียเวลาในการ Set Up
ถ้าเราลองเปลี่ยนเป็นเดินงานไซซ์เดียว ที่คิดว่าทำได้เก่งที่สุด
แล้วไซซ์ที่เหลือค่อยไปนำเข้าจากเวียดนาม หรือจากไทย
ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างของการ Optimize ในระดับภูมิภาค
มีการบริหารต้นทุนโลจิสติกส์อย่างไร?
ถ้าในอาเซียน เราก็จะโฟกัสว่า จะมีท่าเรือที่สามารถส่งสินค้าไปต่างประเทศ ได้ที่ไหนบ้าง
และก็จะมีหน่วยงานที่ทำ Supply Chain จะคอยเช็กเส้นทางในแต่ละ Route
ว่ามีต้นทุนในการส่งสินค้าจากที่ไหนถูกสุด และผลิตสินค้าจากโรงงานไหนถึงคุ้มค่าที่สุด
อย่างเช่น ถ้าเราต้องการส่งสินค้าไปที่ตอนใต้ของฟิลิปปินส์ เราควรจะผลิตจากอินโดนีเซีย
หรือจะส่งสินค้า จากคลังสินค้าของเวียดนามไปดี
ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นความได้เปรียบอีกข้อหนึ่ง ที่โรงงานเซรามิกอื่น ๆ ในภูมิภาคไม่มี
ในตัวของ Bottom Line ก็พอจะเห็น Synergy ว่า 1+1 ต้องมากกว่า 2
อยากให้คุณนำพล เล่าให้ฟังถึงเป้าหมายของ SCGD ในอีก 5 ปีข้างหน้า ว่าเป็นอย่างไร?
กลยุทธ์สู่การเติบโตของ SCGD ก็มีอยู่ 5 เรื่องหลัก ๆ ด้วยกันนั่นคือ
1. การขยายสินค้ากลุ่มสุขภัณฑ์ จากเบอร์ 1 ในไทย สู่การเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคอาเซียน
2. จะไม่ได้โฟกัสแค่ เซรามิกอย่างเดียว แต่จะโฟกัสไปที่การเป็น Decor Surfaces
ที่ครอบคลุมเรื่องวัสดุตกแต่งพื้นผิว เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำด้าน Decor Surfaces ในภูมิภาคอาเซียน
3. ขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง เช่นปูนกาว ยาแนว เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านการให้บริการแบบครบวงจร
4. สามารถจัดการเรื่องต้นทุนได้ จากกำลังการผลิตที่มากพอ และมีฐานการผลิตครอบคลุม รวมถึงการบริหารห่วงโซ่อุปทาน ทั้งด้านการผลิต และการจัดหาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (Regional Optimization & Global Sourcing Powerhouse)
5. ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และดูแลสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง ESG
ทีนี้ลองมาดูกันว่า หลังจากปรับโครงสร้างภายในของบริษัท SCGD จะใหญ่ขึ้นแค่ไหน
ผลการดำเนินงานเดิมจากที่เคยเป็น COTTO
มีรายได้ในปี 2565 อยู่ที่ 13,224 ล้านบาท กำไร 449 ล้านบาท
แต่ถ้ารวมทุกกลุ่มธุรกิจใน SCGD
มีรายได้ในปี 2565 อยู่ที่ 30,886 ล้านบาท กำไร 1,163 ล้านบาท
* หมายเหตุ: กำไรไม่รวมสำรองด้อยค่าของโรงงานผลิตแผ่นหินขนาดใหญ่
มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดจากเดิมที่เป็น COTTO อยู่ที่ 11,310 ล้านบาท
ถ้ารวมทุกกลุ่มธุรกิจใน SCGD ก็เพิ่มขึ้นเป็น 40,576 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า หลังจากมีการปรับโครงสร้าง จาก COTTO กลายมาเป็น SCGD
ซึ่งเป็นการการรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง กับวัสดุตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์ทั้งหมด
มารวมไว้เป็นบ้านหลังเดียวกัน ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมากเลยทีเดียว
Reference
-วิดีโอสัมภาษณ์ คุณนำพล มลิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD โดย The Briefcase
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.