กรณีศึกษา SE-ED เมื่อก่อนขายแค่ หนังสือเฉพาะทาง ให้เด็กวิศวะ

กรณีศึกษา SE-ED เมื่อก่อนขายแค่ หนังสือเฉพาะทาง ให้เด็กวิศวะ

21 ก.พ. 2023
กรณีศึกษา SE-ED เมื่อก่อนขายแค่ หนังสือเฉพาะทาง ให้เด็กวิศวะ | BrandCase
รู้หรือไม่ ? เมื่อก่อน SE-ED เริ่มธุรกิจจากการขายหนังสือเฉพาะทาง ด้านวิศวกรรมเท่านั้น
ก่อนจะค่อย ๆ ขยับขยายมาขายหนังสืออย่างอื่น และทำร้านหนังสือขึ้นห้าง
จุดเริ่มต้นของ SE-ED เป็นอย่างไร
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
SE-ED หรือ บมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น ก่อตั้งขึ้นในปี 2517 หรือ 49 ปีที่แล้ว
โดยคนที่ก่อตั้งขึ้นมา เป็นกลุ่มอดีตนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 คน
ในช่วงแรก SE-ED เน้นขายแค่หนังสือเฉพาะทาง
เช่น ด้านวิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างเช่นเรื่องเซมิคอนดักเตอร์
นอกจากนั้น SE-ED ยังรับเป็นผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ อีกด้วย
ก่อนที่ต่อมาจะเริ่มเข้าไปทำธุรกิจวารสาร หนังสือเชิงวิชาการอื่น ๆ พัฒนามาเป็นสำนักพิมพ์
และเป็นผู้รับจัดจำหน่ายหนังสือ ให้กับสำนักพิมพ์อื่น
ต่อมา ธุรกิจศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้าในไทยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
กลุ่มเจ้าของ SE-ED เลยมองว่า การเข้าไปเปิดร้านหนังสือในศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ น่าจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น
และ SE-ED ก็เปิดสาขาแรกในห้าง ในปี 2534 ที่ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์
โดยปัจจุบัน ธุรกิจของ SE-ED แยกเป็น 5 ส่วน คือ
1.ธุรกิจร้านหนังสือ ผ่านร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และเครือข่าย
2.ธุรกิจรับจัดจำหน่ายหนังสือ
3.ธุรกิจสำนักพิมพ์-ผลิตหนังสือ รวมทั้งผลิตสินค้าที่ไม่ใช่หนังสือ
4.สถาบันการศึกษาเอกชน โรงเรียนเพลินพัฒนา
5.ธุรกิจให้คำปรึกษา การจัดหา จำหน่ายเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ และให้คำปรึกษา จำหน่ายเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์
ซึ่งถ้ามาดูรายได้และกำไร ของ บมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น เจ้าของร้านหนังสือ SE-ED
ปี 2564 รายได้ 1,817 ล้านบาท ขาดทุน 58 ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2565 รายได้ 1,568 ล้านบาท กำไร 3 ล้านบาท
อย่างที่หลายคนรู้กันว่า หลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมร้านหนังสือเจอผลกระทบจากกระแสดิจิทัล ดิสรัปชัน
SE-ED ที่ผ่านมา ก็ต้องมีการปรับตัว
ทั้งมีการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร ปรับสัดส่วนสินค้าภายในร้าน
รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่น ๆ ของหนังสือ
เช่น e-book, audiobook, videobook, e-library, e-testing, streaming platform รวมไปถึงคอร์สเรียนออนไลน์
ไม่รู้เหมือนกันว่า อนาคตของ SE-ED จะเป็นอย่างไร
แต่อย่างน้อยที่ผ่านมา SE-ED น่าจะเป็นร้านหนังสือที่แทบทุกคนต้องเคยเห็น หรือเข้าไปใช้บริการกันบ้าง แน่นอน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
หลายคนน่าจะเคยสงสัยว่า ชื่อของ SE-ED มีที่มาอย่างไร ?
คำตอบคือ SE-ED ย่อมาจากคำเต็มว่า “Science, Engineering and Education”
References
-https://view.officeapps.live.com/op/view.aspx?src=http%3A%2F%2Fcapital.sec.or.th%2Fwebapp%2Fcorp_fin%2Fdatafile%2F56%2F20030253T05.DOC&wdOrigin=BROWSELINK
-https://th.wikipedia.org/wiki/ซีเอ็ดยูเคชั่น
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2564, บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.