กรณีศึกษา ทำการตลาดท่องเที่ยวออนไลน์ยังไงให้ติดเทรนด์

กรณีศึกษา ทำการตลาดท่องเที่ยวออนไลน์ยังไงให้ติดเทรนด์

2 ก.พ. 2023
เทรนด์การท่องเที่ยว ที่น่าสนใจในปี 2023 นี้คือ
- Work from anywhere & Digital Nomad
ในเดือนกันยา 2022 อัตราการค้นหาสถานที่ทำงาน
Remote workers เพิ่มขึ้น 165% จากซิดนีย์ มาที่กทม.
สะท้อนโอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวไทย
- Bonding Business Breaks
ทริปบริษัทกลับมาคึกคักอีกครั้ง
เพราะคนเข้าออฟฟิศแบบไฮบริดเลยไม่ค่อยเจอหน้ากัน
การจัดทริปองค์กร เพื่อเทรนนิ่ง สร้างสัมพันธ์
จึงเป็นสิ่งที่คึกคักขึ้นในปีนี้
- Bleisure
Business + Leisure Travel
เป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจ เพราะการเดินทางที่กลับมาคึกคัก
พร้อมทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้การแพลนทริป
ของนักธุรกิจ ผสานกับการเดินทางท่องเที่ยว ในสถานที่เชื่อมต่อกับการทำงาน
3 เทรนด์นี้เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทย
จะได้เตรียมทำการตลาดให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวในปีนี้
แต่สิ่งที่น่าแปลกใจสำหรับจุดหมายลำดับต้นของนักท่องเที่ยว
อย่างเมืองไทย คือไม่ค่อยมีผู้ประกอบการทัวร์จากท้องถิ่น
ในกรณีศึกษาด้านการตลาดระดับโลกสักเท่าไหร่
ที่มีชื่อเสียงในระดับสากลจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์
สถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า
แต่รู้ไหมว่า ต้นเดือนที่ผ่านมา Love Andaman
มีธุรกิจทัวร์ชื่อดังจากประเทศไทยได้รับรางวัล
Bronze ในสาขา Best eCommerce Campaign
บนเวทีประกวด Asia eCommerce Awards
จากประเทศสิงคโปร์ เป็นรางวัลที่ 2 ต่อจากรางวัล
Silver ในสาขา Commercial จากงานประกวด
World Media Festival Tourism & Travel Media Awards จากประเทศ Germany
ทำไมบริษัททัวร์ในไทย ที่ทำตลาดท่องเที่ยวออนไลน์
ผ่านทาง Social Platform เป็นหลัก
จึงได้รับรางวัลระดับโลกด้านการสื่อสารติดต่อกัน?
Yell Advertising ผู้อยู่เบื้องหลังแคมเปญระดับโลกนี้
โดยได้สรุปเป็นกรณีศึกษา ของการทำตลาดท่องเที่ยวออนไลน์
ให้พร้อมรับมือกับเทรนด์ท่องเที่ยวในปี 2023 ออกมาดังนี้
1. วางแผนครั้งเดียว ใช้ให้คุ้มทุกช่องทาง
ทีม Social ของ Love Andaman เก่งมากอยู่แล้ว
มีการเก็บภาพสวยๆ ของทะเลใต้ และนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา
แต่การนำมาทำแคมเปญให้เกิดการจองผ่านช่องทางอื่นๆ
นอกจาก Social Media ต้องมีการจัดเรียง และคัดเลือกให้เหมาะสม
กับ Channel ต่างๆ เช่น Social Commerce, eMarketplace, Online Ads
ในหลายๆ Platform ที่มีวิธีดึงดูดความสนใจแตกต่างกัน
แต่จะทำให้ได้แบบนี้ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี
ในการถ่ายทำ เพื่อให้ประหยัดต้นทุน และใช้ประโยช์ได้มากที่สุด
2. ใช้คนผสมกับ Adaptive Technology
ปัญหาของความขายดี แก้ไม่ได้ด้วยการเพิ่มจำนวนแอดมิน
แต่การออกแบบให้ดีลใน eMarketplace แตกต่างกับดีล
ที่ทักมาในเพจต้องแตกต่างกัน คนชอบถาม ต้องการเซอร์วิสเยอะ
ต้องจบใน Social Media แต่คนที่ชอบ Self Service มากกว่า
ก็จัดหาช่อง eMarketplace ให้เค้าพร้อมดีล เพื่อที่จะลด
การกระจุกตัวของลูกค้า ในเวลาที่ Demand สูง
3. อุปสรรค = โอกาส
ช่วง Low Season ก็ต้องหาจุดขายให้เหมาะ
สำหรับลูกค้าที่ชอบคนละประเภท
เช่น ช่วงนักท่องเที่ยวน้อยจ่ายเท่าเดิม
แต่เพิ่มเติมคือเที่ยวเหมือนเป็นเจ้าของเกาะ
อย่าเอาฤดูกาล หรืออุปสรรคต่างๆ
มาทำให้การตลาดต้องชะงัก
ทั้งหมดนี้คือโอกาสที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว
จะได้ประโยชน์ช่วง Post Covid ที่การเดินทาง
กลับมาคึกคักอีกครั้งอย่างแน่นอน
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.