
ครั้งแรก! พาชมโรงงานสายไฟของ “บางกอกเคเบิ้ล” โรงงานที่มีเทคโนโลยีล้ำที่สุดในไทย เจ้าตลาดสายไฟไทยที่มีกำลังการผลิตเบอร์ 1 ของประเทศ
21 พ.ค. 2025
ในโลกที่พลังงานคือหัวใจของทุกระบบ สายไฟฟ้าคือเส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมโยงทุกความเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่บ้านพักอาศัย สำนักงาน อาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม
ไปจนถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศ การมีสายไฟที่มีคุณภาพสูงและเชื่อถือได้จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการลงทุน แต่เป็นเรื่องความมั่นคงระดับชาติ
เพราะเกี่ยวข้องกับทั้งความปลอดภัยและความสามารถในการขับเคลื่อนความเป็นอยู่ที่ดีของคนในประเทศ
กระบวนการผลิตไฟฟ้าที่ได้คุณภาพในทุกขั้นตอน จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้ผลิตสายไฟฟ้าต้องใส่ใจ ล่าสุด บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด
ผู้ผลิตสายไฟฟ้าที่ครองความเชื่อมั่นมานานกว่า 60 ปี เติบโตจากธุรกิจครอบครัว สู่ผู้นำตลาดที่มีส่วนแบ่งกว่า 30% หรือครองส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ
ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตสายไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ณ โรงงานผลิตหลัก จ.ฉะเชิงเทรา
พงศภัค นครศรี ประธานเจ้าหน้าที่สายงานขายและการตลาด บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) เล่าว่า ปัจจุบัน บางกอกเคเบิ้ล มีพนักงานกว่า 1,250 คน
มีโรงงานผลิตสายไฟทั้งสิ้น 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานสมุทรปราการ โรงงานฉะเชิงเทรา และ Operation and Innovation Center ซึ่งถือเป็นโรงงานแห่งที่ 3 ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงงานฉะเชิงเทรา
รวมพื้นที่โรงงานฉะเชิงเทราทั้งหมดกว่า 251 ไร่ มีกำลังการผลิตสายไฟกว่า 60,000 ตันต่อปี ครอบคลุมผลิตภัณฑ์มากกว่า 80 ชนิด รวมถึงมีโซลูชั่นปรับแต่งเฉพาะตามความต้องการ
นับเป็นพอร์ตฟอลิโอที่กว้างที่สุดในประเทศไทย รองรับความต้องการทุกกลุ่มลูกค้าถึง 7 กลุ่มการใช้งาน
“นับจากช่วงสิ้นปี 2565 หรือช่วงปลายเหตุการณ์ COVID-19 กำลังการผลิตรวมของเราเติบโตขึ้นมากกว่า 30% ต่อปี และครองตำแหน่งผู้ผลิตสายไฟรายใหญ่ที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในประเทศ
โดยในปี 2567 เราส่งมอบสายไฟไปทั้งสิ้นกว่า 50,000 ตัน หรือคิดเป็นความยาวสายไฟรวมกว่า 400,000 กิโลเมตร สะท้อนถึงการขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง” พงศภัค ระบุ
โรงงานที่ฉะเชิงเทรา ถือเป็นโรงงานผลิตหลักที่มีกระบวนการผลิตครอบคลุมทุกขั้นตอน มีคุณภาพและมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยกว่าจะมาเป็นสายไฟที่ใช้ในพื้นที่ต่างๆ ต้องผ่านกระบวนการผลิตหลักๆ ถึง 7 ขั้นตอน ได้แก่
1.การคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพสูง (Raw Materials Selection)
2.การหลอมโลหะ (Copper & Aluminium Rod Production)
3.การตีเกลียว (Standing Process)
4.การหุ้มฉนวน (Insulation Process)
5.การรวมแกน (Multicore Assembly)
6.การเสริมความแข็งแรงและความปลอดภัย (Protection Enhancements)
7.การหุ้มเปลือกนอกและพิมพ์แบรนด์ (Sheathing & Label)
2.การหลอมโลหะ (Copper & Aluminium Rod Production)
3.การตีเกลียว (Standing Process)
4.การหุ้มฉนวน (Insulation Process)
5.การรวมแกน (Multicore Assembly)
6.การเสริมความแข็งแรงและความปลอดภัย (Protection Enhancements)
7.การหุ้มเปลือกนอกและพิมพ์แบรนด์ (Sheathing & Label)
ทั้ง 7 ขั้นตอนล้วนผ่านความใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การเลือกนำเข้าทองแดงจากแหล่งผลิตทองแดงของโลกอย่างออสเตรเลียและชิลี เป็นต้น จนถึงการตรวจสอบสายไฟคุณภาพทุกเส้นอย่างเข้มงวด
พงศภัค ย้ำว่า บางกอกเคเบิ้ล ถือเป็นผู้นำและผู้บุกเบิกในหลายๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน อาทิ การเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบสายไฟภายใต้สภาวะเผาไหม้ (Fire Testing Lab) แห่งแรกของประเทศไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรฐาน มอก. 17025 (ISO/IEC 17025) ถือเป็นก้าวสำคัญในฐานะผู้บุกเบิกมาตรฐานการทดสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์สายไฟในอุตสาหกรรมไทย พร้อมยกระดับสู่มาตรฐานสากล
ล่าสุด บริษัทยังได้จัดตั้ง ห้องปฏิบัติการสายไฟฟ้าแรงดันสูงพิเศษ (Extra High Voltage Lab) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทดสอบสายไฟฟ้าแรงดันสูงพิเศษ 230 kV ซึ่งเป็นสายไฟที่ใช้กับโครงสร้างพื้นฐานและเมกะโปรเจกต์ต่างๆ
“ห้องปฏิบัติการนี้ สามารถจำลองการใช้งานไฟฟ้าระดับ 700 kV และกระแสสูงถึง 6,000 A ได้ เพื่อให้มั่นใจว่าสายไฟที่ผลิตออกไป มีความแม่นยำและปลอดภัยตามมาตรฐานวิศวกรรม
โดยเราคือผู้ผลิตคนไทยแห่งเดียวของประเทศที่มีห้องปฎิบัติการทดสอบนี้ และเรายังคงผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในกระบวนการทำงานภายในโรงงานของเราอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนโรงงานของเราสู่ Smart Factory 4.0” พงศภัค ระบุ
พงศภัค เล่าเพิ่มเติมว่า ความใส่ใจในคุณภาพ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในโรงงานหรือห้องแล็บ แต่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมขององค์กร ที่ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงาน
การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล และการออกแบบสายไฟให้ตอบโจทย์การใช้งานจริง ทั้งในบ้านพักอาศัย โรงงาน อาคารสูง ไปจนถึงโครงการระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ที่สำคัญ บริษัทยังใส่ใจเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นผู้บุกเบิกรายแรกๆในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดด้วยการก่อตั้ง บริษัท บางกอก โซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด บริษัทในเครือ เพื่อบุกเบิกและพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดของประเทศ
โดยได้ดำเนินการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของประเทศไทย ภายในพื้นที่โรงงานฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2549 และปัจจุบันได้ขยายการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ภายในพื้นที่โรงงานจนมีปริมาณโซลาร์ที่ครอบคลุมกว่า 50% ของกำลังการผลิตของทั้ง 3 โรงงาน
ซึ่งตอบโจทย์บริษัทที่เดินหน้า “เซฟคน เซฟเมือง เซฟสิ่งแวดล้อม” และสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของบริษัทในการเชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่อนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
ปัจจุบัน บางกอกเคเบิ้ล มีสายไฟครอบคลุมทั้งสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง สายไฟฟ้าแรงดันสูง สายไฟฟ้าแรงดันสูงพิเศษ สายเปลือย สายโซลาร์เซลล์ สายคอนโทรลและสายสัญญาณ
นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์สายทนไฟ ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่เน้นความปลอดภัยและรองรับมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล
ในวันที่ประเทศไทยเดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก และการเติบโตของเมืองอัจฉริยะ “สายไฟ” จะยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้น และบางกอกเคเบิ้ลกำลังยืนยันว่า
พวกเขาพร้อมเป็นเส้นเลือดสำคัญของระบบพลังงานไทย ที่ไม่เพียงเชื่อมต่อพลังงานเท่านั้น แต่เชื่อมต่อความเชื่อมั่น ความปลอดภัย และอนาคตที่ยั่งยืนของผู้คนทั่วประเทศ
สำหรับ บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) เป็นผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2507 ให้บริการครอบคลุม 7 กลุ่มการใช้งาน ได้แก่
1.ระบบผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า (Transmission)
2.ระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (Distribution)
3.ระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักและอาคาร (Construction and Building)
4.ระบบขนส่งและคมนาคม (Transportation and Mobility)
5.ระบบไฟฟ้าในโรงงาน และภาคอุตสาหกรรม (Industrial)
6.พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)
7.ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ (Automotive) เพื่อสร้างความปลอดภัยและขับเคลื่อนเมืองสู่อนาคต
2.ระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (Distribution)
3.ระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักและอาคาร (Construction and Building)
4.ระบบขนส่งและคมนาคม (Transportation and Mobility)
5.ระบบไฟฟ้าในโรงงาน และภาคอุตสาหกรรม (Industrial)
6.พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)
7.ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ (Automotive) เพื่อสร้างความปลอดภัยและขับเคลื่อนเมืองสู่อนาคต
ปัจจุบัน มีลูกค้าโครงการขนาดใหญ่ของทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากที่ใช้สายไฟฟ้าของบางกอกเคเบิ้ล อาทิ โครงการวัน แบงค็อก (One Bangkok) สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 โครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก
และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ บริษัท มีส่วนสนับสนุนโครงการ ASEAN Power Grid โดยเฉพาะโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง (Luang Prabang Hydropower Project) ในประเทศลาว