
สรุปเรื่อง KEX จะถูกเพิกถอนหุ้น ออกจาก ตลาดหุ้นไทย
2 พ.ค. 2025
-KEX หรือ บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือที่เมื่อก่อนคือ Kerry Express เป็นบริษัทให้บริการขนส่งพัสดุรายใหญ่ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-KEX ในตอนนี้มี บริษัท เอสเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (“SFTH”) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุด โดยถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 81.43%
-วันนี้ KEX แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า SFTH จะเสนอซื้อหุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมด อีก 18.57% จากผู้ถือหุ้นรายอื่น
และจะเสนอเพิกถอนหลักทรัพย์ KEX จากการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ
และจะเสนอเพิกถอนหลักทรัพย์ KEX จากการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ
-การทำแบบนี้ เรียกว่า Delisting tender offer คือการที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทำคำเสนอซื้อหุ้นจากนักลงทุนทั่วไป แล้วเสนอเพิกถอนหุ้นของบริษัทออกจากตลาดโดยสมัครใจ
-โดยการทำ tender offer ก็จะต้องมีการเคาะราคาเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ และราคาที่เคาะมา ก็ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การคำนวณของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ซึ่งราคา tender offer หุ้น KEX ที่ SFTH เสนอซื้อ คือ 1.50 บาท ต่อหุ้น (ซึ่งช่วงเช้าวันนี้ ราคาหุ้น KEX ก็วิ่งมาอยู่ที่ประมาณเกือบ ๆ 1.50 บาท บวกมามากกว่า 20%)
ซึ่งราคา tender offer หุ้น KEX ที่ SFTH เสนอซื้อ คือ 1.50 บาท ต่อหุ้น (ซึ่งช่วงเช้าวันนี้ ราคาหุ้น KEX ก็วิ่งมาอยู่ที่ประมาณเกือบ ๆ 1.50 บาท บวกมามากกว่า 20%)
-SFTH ให้เหตุผลที่ต้องการเพิกถอนหุ้น KEX ออกจากตลาดหลักทรัพย์ไว้หลัก ๆ 3 ข้อ โดยสรุปคือ
1.บริษัทขาดทุนต่อเนื่อง 13 ไตรมาสติด จากการแข่งขันรุนแรง และแรงกดดันด้านราคา จนทำให้บริษัทเจอปัญหาสภาพคล่อง รวมทั้งแนวโน้มธุรกิจที่ยังไม่แน่นอน และฟื้นตัวยากในระยะสั้น
2.จากปัญหาสภาพคล่องดังกล่าว ทำให้บริษัทจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างต่อเนื่อง
แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง และแนวโน้มอนาคตไม่ชัดเจน ทำให้สถานะการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัท ไม่ใช่ช่องทางในการระดมทุน ที่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป
แต่ด้วยข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง และแนวโน้มอนาคตไม่ชัดเจน ทำให้สถานะการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัท ไม่ใช่ช่องทางในการระดมทุน ที่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป
3.มีการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (free float) ต่ำกว่าเกณฑ์ และเพิ่มการกระจายการถือหุ้น
โดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (free float) ของบริษัท ผ่านการออกหุ้นใหม่ให้กับนักลงทุนทั่วไปได้ยาก
โดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (free float) ของบริษัท ผ่านการออกหุ้นใหม่ให้กับนักลงทุนทั่วไปได้ยาก
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุให้ SFTH เห็นว่าการเพิกถอนหลักทรัพย์ จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทั้งบริษัทเอง และผู้ถือหุ้นนั่นเอง..