ทำไมธุรกิจต้องทำ Utilization Rate ให้ได้สูง ๆ อธิบายเรื่องนี้ ด้วยเคสโรงงาน กับสายการบิน
16 ก.ย. 2024
Utilization Rate อธิบายง่าย ๆ ก็คือ อัตราการผลิตจริง เมื่อเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตสูงสุดที่ธุรกิจจะทำได้
ยกตัวอย่างการคำนวณให้เห็นภาพ เช่น
- โรงงานผลิตเสื้อ
ที่สามารถผลิตเสื้อได้เต็มกำลังที่ 1,000 ตัวต่อวัน
แต่ในวันนั้น โรงงานผลิตเสื้อผลิตได้ 700 ตัว
ที่สามารถผลิตเสื้อได้เต็มกำลังที่ 1,000 ตัวต่อวัน
แต่ในวันนั้น โรงงานผลิตเสื้อผลิตได้ 700 ตัว
ดังนั้น Utilization Rate ของโรงงานผลิตเสื้อ
จะเท่ากับ (700 / 1,000) x 100 = 70%
จะเท่ากับ (700 / 1,000) x 100 = 70%
นอกจากในโรงงานผลิตแล้ว Utilization Rate ยังถูกนำไปใช้ในเคสอื่นด้วย อย่างเช่น
- ธุรกิจสายการบิน
ที่เครื่องบิน 1 ลำ สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 500 คน
แต่ในบางเที่ยวบิน เครื่องบินลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้เพียง 250 คนเท่านั้น
ที่เครื่องบิน 1 ลำ สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 500 คน
แต่ในบางเที่ยวบิน เครื่องบินลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้เพียง 250 คนเท่านั้น
ดังนั้น Utilization Rate (ในธุรกิจสายการบินเรียก Lead factor)
จะเท่ากับ (250 / 500) x 100 = 50%
จะเท่ากับ (250 / 500) x 100 = 50%
จะเห็นว่า Utilization Rate เป็นตัวที่บอกว่า เราสามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ ไปใช้ในการทำธุรกิจได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน
ซึ่ง Utilization Rate ยิ่งมากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจของเรา มีอัตรากำไรเพิ่มมากขึ้น
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
อย่างที่เรารู้กันดีว่า ในการทำธุรกิจนั้น จะมีต้นทุนอยู่ทั้งหมด 2 แบบ นั่นคือ
- ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
- ต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
- ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
- ต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
ต้นทุนคงที่ ก็คือ ต้นทุนที่ไม่ว่าสินค้าจะผลิตน้อยหรือมากแค่ไหน ค่าใช้จ่ายนี้ก็จะเกิดขึ้นเสมอ
ต้นทุนผันแปร ก็คือ ต้นทุนที่แปรผันไปกับการผลิตสินค้า เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ
ยกตัวอย่างเช่น
- ธุรกิจโรงงานผลิตสินค้า
ต่อให้เราจะผลิตสินค้าได้ 100 ชิ้น หรือจะผลิตได้เต็มกำลัง 1,000 ชิ้น ต่อวัน
- ธุรกิจโรงงานผลิตสินค้า
ต่อให้เราจะผลิตสินค้าได้ 100 ชิ้น หรือจะผลิตได้เต็มกำลัง 1,000 ชิ้น ต่อวัน
ก็จะมีต้นทุนคงที่ อย่างเช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าที่ หรือค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร ที่ต้องจ่ายเท่าเดิมทุกวันหรือทุกเดือน
- ธุรกิจสายการบิน
ต่อให้ใน 1 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารบินสัก 10 คน หรือเต็มลำที่ 500 คน
ต่อให้ใน 1 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารบินสัก 10 คน หรือเต็มลำที่ 500 คน
อย่างไรเราก็มีต้นทุนคงที่ อย่างเช่น ค่าน้ำมัน เงินเดือนกัปตันและแอร์โฮสเตส หรือค่าลงจอดสนามบินที่เท่ากันไม่ว่าจะมีผู้โดยสารเต็มหรือไม่เต็มลำก็ตาม
ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องหาทางพยายามทำให้ Utilization Rate เพิ่มสูงขึ้น ยิ่งเข้าใกล้ 100% เท่าไร ก็ยิ่งดี
ในธุรกิจโรงงานผลิตสินค้า ที่จะต้องพยายามผลิตสินค้าให้เต็มกำลัง 100%
คือ โรงงานมีกำลังการผลิต 1,000 ชิ้น ก็ต้องพยายามผลิตให้ได้เต็มกำลังที่ 1,000 ชิ้น
คือ โรงงานมีกำลังการผลิต 1,000 ชิ้น ก็ต้องพยายามผลิตให้ได้เต็มกำลังที่ 1,000 ชิ้น
หรือในธุรกิจสายการบิน ก็ต้องพยายามทำให้มีผู้โดยสาร สามารถขึ้นมาบินได้เต็มลำนั่นเอง
ซึ่งด้วยธรรมชาติของธุรกิจสายการบินแล้ว ต้นทุนคงที่ในการขึ้นบินแต่ละครั้ง เป็นต้นทุนที่สูง
ทำให้ถ้าหากว่าเที่ยวบินโดยสารนั้น มีผู้โดยสารที่น้อยมาก ๆ คือมี Utilization Rate ต่ำ
ก็อาจทำให้การขึ้นบิน 1 ครั้ง ไม่คุ้มค่า หรืออาจจะขาดทุนจากการขึ้นบินได้
ก็อาจทำให้การขึ้นบิน 1 ครั้ง ไม่คุ้มค่า หรืออาจจะขาดทุนจากการขึ้นบินได้
-อีกเคสหนึ่งก็คือ เคสโรงงานผลิตเสื้อ
สมมติว่า โรงงานผลิตเสื้อของเราสามารถผลิตเสื้อได้เต็มกำลังที่ 20,000 ตัวต่อเดือน
แต่อยู่มาเดือนหนึ่ง ที่โรงงานต้องผลิตตามออร์เดอร์จากลูกค้า 25,000 ตัว ซึ่งแบบนี้ก็ถือว่าเกินกำลังการผลิต
ถ้าหากว่า เราตัดสินใจขยายโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
การตัดสินใจแบบนี้ เจ้าของธุรกิจจะต้องรู้ล่วงหน้า
ว่าในอนาคตจะมียอดสั่งผลิตเสื้อผ้า ที่เดือนละ 25,000 ตัว สม่ำเสมอทุก ๆ เดือน
ว่าในอนาคตจะมียอดสั่งผลิตเสื้อผ้า ที่เดือนละ 25,000 ตัว สม่ำเสมอทุก ๆ เดือน
เพราะถ้ายอดผลิตเสื้อผ้า 25,000 ตัวต่อเดือน เป็นยอดชั่วคราวที่เกิดขึ้นนาน ๆ ครั้งนั้น
การขยายโรงงานผลิตสินค้า ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่จำเป็น
การขยายโรงงานผลิตสินค้า ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่จำเป็น
เช่น ถ้ายอดผลิตเสื้อตกลงมาเหลือ 20,000 ตัว ในขณะที่มีกำลังการผลิต 25,000 ตัวต่อเดือน
ก็เท่ากับว่า โรงงานผลิตเสื้อมี Utilization Rate เหลืออยู่แค่ (20,000 / 25,000) x 100 = 80% เท่านั้น
ซึ่งการทำแบบนี้ ก็จะทำให้โรงงานผลิตมีต้นทุนคงที่ อย่างค่าเช่าที่ หรือค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ
ดังนั้น ถ้าโรงงานผลิตมียอดออร์เดอร์สินค้าที่บวมขึ้น เกินกำลังผลิตชั่วคราว
เจ้าของธุรกิจ ก็อาจจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ เช่น ให้พนักงานทำงานล่วงเวลา (OT) เพื่อผลิตงานให้ได้ตามเป้าหมาย
เจ้าของธุรกิจ ก็อาจจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ เช่น ให้พนักงานทำงานล่วงเวลา (OT) เพื่อผลิตงานให้ได้ตามเป้าหมาย
ทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องของ Utilization Rate ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ
ยิ่งมี Utilization Rate มากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจ มีอัตรากำไรมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งมี Utilization Rate มากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจ มีอัตรากำไรมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งนอกจาก Utilization Rate จะถูกนำไปใช้ เป็นตัวชี้วัดทางธุรกิจ ในเคสโรงงานผลิตสินค้าและสายการบินแล้ว
Utilization Rate ก็ยังถูกนำไปใช้ในธุรกิจอื่น ๆ อีกหลายธุรกิจ
อย่างเช่น
- ธุรกิจโรงแรม Utilization Rate ก็คือ อัตราการจองห้องพัก หรือ Occupancy Rate
- ธุรกิจโรงพยาบาล Utilization Rate ก็คือ อัตราการครองเตียง
- ธุรกิจโรงเรียนเอกชน Utilization Rate ก็คือ อัตราส่วนนักเรียน ต่อความจุของโรงเรียน
- ธุรกิจโรงไฟฟ้า Utilization Rate ก็คือ กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จริง ต่อกำลังการผลิตไฟฟ้า
- ธุรกิจโรงแรม Utilization Rate ก็คือ อัตราการจองห้องพัก หรือ Occupancy Rate
- ธุรกิจโรงพยาบาล Utilization Rate ก็คือ อัตราการครองเตียง
- ธุรกิจโรงเรียนเอกชน Utilization Rate ก็คือ อัตราส่วนนักเรียน ต่อความจุของโรงเรียน
- ธุรกิจโรงไฟฟ้า Utilization Rate ก็คือ กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จริง ต่อกำลังการผลิตไฟฟ้า