สรุป 4 กลยุทธ์ ไทวัสดุ ในเครือเซ็นทรัล ปีที่แล้ว ยอดขาย 40,000 ล้าน

สรุป 4 กลยุทธ์ ไทวัสดุ ในเครือเซ็นทรัล ปีที่แล้ว ยอดขาย 40,000 ล้าน

17 พ.ค. 2024
บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ภายใต้เครือ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC 
ปี 2566 ที่ผ่านมาทำรายได้ไปทั้งหมด 40,000 ล้านบาท 
โดยปัจจุบันมีจำนวนสาขารวมกกว่า 90 สาขา แบ่งเป็น ไทวัสดุ 77 สาขา BnB Home 13 สาขา 
แล้ว กลยุทธ์การเติบโตของ ไทวัสดุคืออะไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ 
1. ใช้โมเดล Low-Cost ในการดำเนินธุรกิจ 
ทั้งในเรื่องของคน, สาขา และสินค้า 
- คน 
จ้างแต่พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป ไทวัสดุมองว่า การที่จ้างพนักงานมาเยอะเกินไป ก็ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย 
ซึ่งภาระนี้ก็จะตกไปอยู่ที่ผู้บริโภคเพราะบริษัท ต้องขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น 
ดังนั้นทางไทวัสดุจึงได้ ใช้วิธีในการจัดจ้างให้เหมาะสมกับขนาดของแต่ละสาขา
และเน้นว่า ถึงมีจำนวนไม่ได้มากแต่ก็เน้นพัฒนาอย่างบุลคลากรที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง 
- สาขา 
หากใครที่เคยไปเดินไทวัสดุจะสังเกตว่า การตกแต่งของแต่ละสาขานั้นจะเป็นไปในแบบที่เรียบง่าย ไม่ได้หรูหรา 
ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นผลดีกับตัวสาขาเองด้วย เพราะประหยัดต้นทุนและดูแลรักษาง่าย 
- สินค้า 
การที่ไทวัสดุนั้นจะได้สินค้ามาขายในราคาถูก ๆ นั้น บริษัทจะเน้นซื้อมาในปริมาณมากเพื่อให้ราคาสินค้าต่อหน่วยนั้นถูกลง โดยที่ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพสินค้าด้วย
2. เน้น ทำเอง มากกว่าจ้าง Out Source 
พูดง่าย ๆ ก็คือเน้นการทำ In-House Operation มากกว่าการไปจ้างคนอื่นทำ 
ซึ่งข้อดีของการทำแบบนี้ก็คือ ทางไทวัสดุเองสามารถควบควบคุณภาพได้ดีกว่า และถ้ามีปัญหา หรือต้องการปรับอะไรก็สามารถทำได้เลย ด้วย ทีมต่าง ๆ ที่พัฒนาไว้แล้ว 
อย่างเช่น การขนส่ง, ทีมไอที ที่ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กร, ทีมออกแบบ 
ที่ปัจจุบันทาง ไทวัสดุเองมีทีมงาน In-House เองทั้งหมด 
ยกตัวอย่างประโยชน์ของการทำ In-House Operation ก็เช่น 
- ในช่วงมาตรการลดหย่อนภาษี E-Tax มาใหม่ ๆ ปีที่แล้ว ทางภาครัฐออกมาประกาศ ซึ่งทางผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีเวลาแค่ไม่กี่เดือนในการเตรียมตัว 
ทำให้หลาย ๆ บริษัทไม่สามารถเตรียมตัวเรื่องการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้ทัน 
แต่ด้วยความที่ไทวัสดุมีทีมไอทีเป็นของตัวเอง ทำให้สามารถเตรียมการสำเร็จภายใน 1 เดือน และพร้อมอำนวยความสะดวกลูกค้าอย่างทันท่วงที 
3. พัฒนาสินค้าให้ตรงใจลูกค้า 
อย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะสังเกตได้ว่าเทรนด์หลัก ๆ นั้น คือเรื่องของการใช้พลังงานสะอาด
เพราะด้วยเรื่องของสงครามทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้น ทางไทวัสดุเองก็ได้นำสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคนี้มากขึ้น ภายใต้หมวดใหม่ ๆ 
เช่น 
- กลุ่มสินค้า Solar Cell 
- กลุ่มสินค้าจักรยาน EV 
รวมไปถึงสินค้าอื่น ๆ ที่ตามเทรนด์ของผู้บริโภคเช่น โซนสินค้าเฟอร์นิเจอร์ CALINA
4. เชื่อมต่อ ออฟไลน์ ออนไลน์ แบบไร้รอยต่อ
ที่ไทวัสดุนั้น ได้มีการปรับตัวมาสู่ด้านออนไลน์มากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 
โดยสถิติด้านออนไลน์ที่น่าสนใจ เช่น 
- แอปพลิเคชัน ไทวัสดุ มียอดดาวน์โหลดกว่า 600,000 ครั้ง 
- ยอดออนไลน์แตะ 1,400 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตแบบ CAGR ถึง 145% ใน 4 ปี 
- มีลูกค้าใหม่ที่ชอปออนไลน์กว่า 5,000 คน ต่อเดือน 
- มีจำนวนลูกค้าที่ซื้อทั้งออนไลน์และ ออฟไลน์ถึง 46% 
ซึ่งก็มาจากกลยุทธ์ของทางไทวัสดุ ที่เรียกว่า Phygital 
ที่ต้องการให้การซื้อสินค้าที่หน้าร้านและออนไลน์นั้นมีความเสมอภาคกัน เป็นอันเดียวกัน เช่น 
- ทั้งหน้าร้านและออฟไลน์ ราคาเท่ากัน โปรโมชันเดียวกัน ไม่มีอันไหนดีกว่า 
- คูปองที่ลูกค้าได้รับซื้อได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ 
- ช่องทางการจ่ายเงินที่สะดวกเหมือน ๆ กัน ทั้งเรื่องการชำระเงิน และการสะสมบัตร The 1 
ทั้งหมดนี้เองก็เป็นกลยุทธ์ของ ไทวัสดุ 
ที่ทำให้ในปี 2566 ที่ผ่านมา ทำรายได้ไปถึง 40,000 ล้านบาท
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.