สรุปศักยภาพ ย่านลาดกระบัง ที่มีข่าวว่า Tesla เล็งมาตั้งโรงงาน l BrandCase

สรุปศักยภาพ ย่านลาดกระบัง ที่มีข่าวว่า Tesla เล็งมาตั้งโรงงาน l BrandCase

13 มี.ค. 2024
ข่าวใหญ่ช่วงที่ผ่านมา คือมีรายงานข่าวว่า Tesla กำลังพิจารณามาตั้งโรงงานในไทย
จากการที่ทาง Tesla ได้เข้ามาดูพื้นที่ลงทุนในไทย หลังนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน
โรดโชว์ที่สหรัฐอเมริกา และได้เชิญชวน Tesla เข้ามาลงทุนในไทย
โดยเงื่อนไขการลงทุนของ Tesla คือต้องใช้พื้นที่ทั้งหมด 1,000-2,000 ไร่
ซึ่งเบื้องต้น มีรายงานว่า Tesla กำลังพิจารณาที่ดิน 2,000 ไร่ “ย่านลาดกระบัง” แต่ว่ยังไม่ได้มีการรายงานาเป็นพื้นที่บริเวณไหน
แล้ว ย่านลาดกระบัง มีอะไรดี และมีศักยภาพขนาดไหน ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
เขตลาดกระบัง เป็นเขตชานเมืองของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก
มีจำนวนประชากร 180,000 คน
และมีพื้นที่ทั้งหมด 124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 77,400 ไร่
นอกจากนี้ลาดกระบังยังมีพื้นที่ติดต่อกับเขตอื่น ๆ ตั้งแต่
ทิศเหนือ ติดกับเขตมีนบุรี และเขตหนองจอกทิศใต้ ติดกับอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการทิศตะวันตก ติดกับเขตประเวศ และเขตสะพานสูงทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทีนี้ลองมาดูความโดดเด่นของย่านนี้กัน..
เป็นย่านที่มี Ecosystem ในการผลิตรถยนต์ที่ครบครัน
ย่านลาดกระบัง อยู่ไม่ห่างจากพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ แบบครบวงจร
ไล่ตั้งแต่
ไทยซัมมิทกรุ๊ป ซัปพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ ทำโครงรถยนต์เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ ซัปพลายเออร์ผู้ผลิต PCB หรือแผงวงจรไฟฟ้าให้กับรถยนต์
นอกจากนี้ ย่านลาดกระบัง ยังอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของซัปพลายเออร์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อีกจำนวนมาก
อย่างเช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมบางพลี นิคมอุตสาหกรรมบางชัน
ซึ่งนอกจากจะมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในหลาย ๆ นิคมอุตสาหกรรมแล้ว
ย่านลาดกระบัง ก็ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญ
อย่างเช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ที่มีศักยภาพมากพอ ที่จะเป็นแหล่งศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับ งานด้านการผลิตรถยนต์ EV
ทั้งในเรื่องงานวิจัยและพัฒนา ไปจนถึงเรื่องการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
รวมถึงป้อนวิศวกรให้โรงงานได้ด้วย
เป็นฮับด้านโลจิสติกส์ ที่มีการเดินทางสะดวก
โดยย่านลาดกระบัง มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก และรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น
ทางบก อย่างเช่น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี-ระยอง
และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก บางปะอิน-บางพลีทางอากาศ อย่างเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก
ด้วยขนาดพื้นที่ 20,000 ไร่ทางราง อย่างเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
อย่างสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ในจังหวัดระยอง
ซึ่งโครงการนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อก่อสร้าง
เมื่อมีระบบการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็ว
จึงทำให้พื้นที่ลาดกระบัง มีศักยภาพในการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมระดับโลก
และสามารถใช้ประโยชน์จากการคมนาคมขนส่ง ที่มีอยู่ได้อย่างไร้รอยต่อ
อย่างเช่น
การใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี-ระยอง
ในการขนส่งรถยนต์ที่ผลิตแล้ว จากโรงงานที่ลาดกระบัง
ไปยังที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใช้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
สามารถเชื่อมต่อกับบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ที่อยู่ในต่างจังหวัดได้
อย่างเช่น
Stanley ผู้ผลิตชุดโคมไฟยานยนต์ ในจังหวัดปทุมธานีอาปิโก ไฮเทค ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์จับยึดสำหรับผลิตรถยนต์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งถ้าหาก Tesla มาเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทย และ 2 บริษัทนี้ กลายเป็นหนึ่งในซัปพลายเออร์
ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ EV ให้กับ Tesla
บริษัทเหล่านี้ มีศักยภาพจะสามารถผลิตชิ้นส่วนเพื่อส่งให้กับโรงงาน Tesla ในย่านลาดกระบัง
โดยใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษก สายบางปะอิน-บางพลี
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าย่านลาดกระบัง ก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพอีกย่านหนึ่ง
แถมยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร และเขตโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก
อย่างไรก็ตาม หากลองมาดูความต้องการของ Tesla ที่อยากจะได้ที่ดินผืนเดียวขนาด 2,000 ไร่ ในย่านลาดกระบัง ที่ต้องเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรมเท่านั้น
ซึ่งตามหลักการวางสีผังเมืองแล้ว มีเพียงเขตที่ดินสีม่วงเท่านั้น ที่อนุญาตให้สามารถตั้งโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าได้ โดยมักพบได้ตามนิคมอุตสาหกรรม
และเมื่อดูนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่แถบนั้นแล้ว จะพบว่า
นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีพื้นที่ 2,559 ไร่
ตัวอย่างบริษัทในนิคม เช่น บจก.3 เอ็ม ประเทศไทย, บจก.เขาช่องอุตสาหกรรม 1979, บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์นิคมอุตสาหกรรมบางชัน มีพื้นที่ 677 ไร่
ตัวอย่างบริษัทในนิคม เช่น บจก.มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ออโตเมชั่น (ประเทศไทย), บจก.เฮลซ์ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย), บจก.เนสท์เล่ (ไทย)
จะเห็นว่าแค่พื้นที่ 2,000 ไร่ ของ Tesla โรงงานเดียว ก็ใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมบางชันทั้งนิคม
และเทียบเท่าเกือบ 80% ของพื้นที่ทั้งนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังแล้ว
พอเป็นแบบนี้ ก็คงต้องดูกันต่อไปว่า เมื่อทำเลที่จะสามารถตั้งโรงงานของ Tesla ได้ ไม่ใช่พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่งที่ว่านี้แล้ว
Tesla จะเลือกพื้นที่ไหนได้บ้าง ในย่านลาดกระบัง เพื่อตั้งโรงงาน
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.