เส้นทาง เจ้าพ่ออสังหาฯ “เสี่ยเจริญ” จากซื้อตึกเอ็มไพร์ ปี 40 สู่อาณาจักร Frasers

เส้นทาง เจ้าพ่ออสังหาฯ “เสี่ยเจริญ” จากซื้อตึกเอ็มไพร์ ปี 40 สู่อาณาจักร Frasers

17 ม.ค. 2024
ถ้าพูดถึงชื่อ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ธุรกิจที่คนไทยคุ้นเคยคงจะเป็น ไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของ เบียร์ช้าง
และอีกมุมที่หลายคนจะนึกถึงถัดมา น่าจะเป็นภาพการเป็นเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ เบอร์ต้น ๆ ของไทย
แล้วเส้นทางสู่การเป็นเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ในไทย ของเสี่ยเจริญ เริ่มมาอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ย้อนกลับไปในปี 2518 เจ้าสัวเจริญ เริ่มลงทุนในที่ดินผืนสำคัญ ในจังหวัดระยอง
โดยเวลาต่อมา หลังจากที่ธุรกิจโรงกลั่นสุรา ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก 
ทำให้เสี่ยเจริญมีกระแสเงินสดมากขึ้น เขาจึงมุ่งเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มตัว
เริ่มด้วยการเริ่มซื้อห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ตรงแถวประตูน้ำ จากตระกูลบุญนาค เมื่อปี 2532 
แล้วนำมารีโนเวตเป็น ห้างขายสินค้าไอทีครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย 
ต่อมาในปี 2534 บริษัทในเครือของเสี่ยเจริญ ได้รับสิทธิ์ในการบริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่รัฐบาลเพิ่งสร้างแล้วเสร็จในปีนั้นพอดี
โดยศูนย์การประชุมดังกล่าว ถูกบริหารโดยบริษัทในเครือ TCC Group นั่นคือ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด 
ต่อมาในขณะนั้น ประเทศไทยกำลังกลายมาเป็นจุดมุ่งหมายของเหล่านักท่องเที่ยว 
เสี่ยเจริญเลยคว้าโอกาสเข้าไปลงทุนในธุรกิจโรงแรม 
ด้วยการซื้อโรงแรมแม่ปิง เชียงใหม่ เข้ามาเป็นโรงแรมแห่งแรกในเครือ TCC Group ในปี 2534
ตามมาด้วยโรงแรมในเครืออิมพีเรียล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมดังอันดับต้น ๆ ของไทยในตอนนั้น
ทั้งหมด 7 แห่ง จากคุณอากร ฮุนตระกูล ในปี 2537  
มาถึงตรงนี้ เราคงคิดว่าเสี่ยเจริญน่าจะต้องมีเงินสดเยอะมาก ถึงสามารถเข้าซื้อกิจการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ได้มากขนาดนี้
แล้วเสี่ยเจริญเอาเงินมาจากไหน ?
เงินทุนที่ใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ของเสี่ยเจริญนั้น มาจากกำไรของธุรกิจโรงกลั่นเหล้าเป็นหลัก
ส่วนหนึ่งเพราะ ระบบการค้าสุราในตอนนั้น ร้านค้าจะต้องวางเงินสดล่วงหน้า 1 เดือนให้กับเอเจนต์
ในการสั่งสินค้า 
และธุรกิจค้าสุรา เป็นธุรกิจที่ได้มาร์จินหรืออัตรากำไรที่ดี สามารถผลิตกระแสเงินสดเข้ามาเป็นจำนวนมาก 
เมื่อสามารถสะสมเงินทุนได้มากพอ
ทำให้เสี่ยเจริญสามารถซื้อกิจการต่อได้ แม้จะเป็นปีที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งก็ตาม 
โดยในปี 2540 เสี่ยเจริญก็ซื้อตึกเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ในย่านสาทร ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครในตอนนั้น ต่อจากกลุ่มทุนฮ่องกง
พร้อมกับออกเงินสร้างสะพาน เชื่อมบริเวณแยกสาทร-นราธิวาส ใกล้ BTS ช่องนนทรีปัจจุบัน ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของย่านนั้น
ตั้งแต่ตอนนั้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็ได้กลายมาเป็นเครื่องจักรทำเงิน 
อีกขาหนึ่ง ต่อจากธุรกิจโรงกลั่นสุราและเบียร์ช้าง ของเสี่ยเจริญ 
พอเป็นแบบนี้ ในปี 2546 เสี่ยเจริญได้ตัดสินใจ ยกระดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
โดยการร่วมทุนกับกลุ่ม CapitaLand บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากสิงคโปร์
เพื่อพัฒนาโครงการที่พักอาศัยใจกลางเมือง 
และเดินหน้า เข้าซื้อกิจการบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง
- ปี 2550 เข้าซื้อกิจการ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ หรือ UV บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของเมืองไทย
ซึ่งที่ผ่านมา UV ก็ได้พัฒนาโครงการดัง 
อย่างเช่น อาคารสำนักงาน Park Ventures ย่านเพลินจิต และเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมแบรนด์ Grand Unity 
- ปี 2555 เสี่ยเจริญก็ได้ใช้ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ เข้าไปซื้อ บมจ.แผ่นดินทอง พร้อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเมนท์ หรือ Goldenland ผู้พัฒนาโครงการอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ อย่างเช่น ตึกสาทรสแควร์
และในปีเดียวกันนั้นเอง กลุ่มบริษัทของเสี่ยเจริญ ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท Fraser and Neave หรือ F&N ซึ่งเป็นบริษัทของสิงคโปร์ 
โดยที่ F&N ได้ทำธุรกิจหลายอย่างมาก ตั้งแต่
- ธุรกิจเครื่องดื่ม โดยเป็นเจ้าของสิทธิ์การขายสินค้าของ Nestlé ในภูมิภาคอาเซียน 
อย่าง นมตราหมี นมคาร์เนชัน 
- ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งการซื้อกิจการในรอบนี้ เสี่ยเจริญก็ได้ร่วมประมูลผ่านกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ และบริษัท TCC Assets 
จนสามารถคว้า 2 ธุรกิจหลักจาก F&N ด้วยมูลค่าเงินทุนกว่า 336,000 ล้านบาท
จุดนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ 
เพราะเสี่ยเจริญได้รีแบรนด์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเครือ F&N 
และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “Frasers Property Group” อย่างที่เรารู้จักกันวันนี้นั่นเอง
หลังจากนั้นไม่นาน เสี่ยเจริญก็ได้ปั้น Frasers Property Thailand ขึ้นมา 
โดยให้อยู่ภายใต้ Frasers Property Group อีกทีหนึ่ง
โดย Frasers Property Thailand ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร 
ตั้งแต่อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า 
ซึ่ง Frasers Property Thailand ก็ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยตัวย่อ FPT
ปัจจุบัน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ในเครือของเสี่ยเจริญ 
มีทั้งหมด 3 บริษัทใหญ่ ๆ นั่นคือ
- Frasers Property Thailand หรือ FPT เจ้าของโครงการชื่อดัง
อย่างสามย่านมิตรทาวน์, สีลมเอจ, โรงแรม ดับเบิลยู กรุงเทพ และ FYI Center
นอกจากจะเป็นเจ้าของโครงการขนาดใหญ่ใจกลางเมืองแล้ว
ก็ยังมีธุรกิจหลักอีกขาหนึ่ง นั่นคือ เป็นเจ้าของโรงงาน และคลังสินค้าให้เช่า 
ในพื้นที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ 11 จังหวัด และต่างประเทศคือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย
และยังมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรกว่า 75 โครงการใน 13 จังหวัด ทั่วประเทศ 
ปัจจุบัน Frasers Property Thailand หรือ FPT มีมูลค่าบริษัทกว่า 35,000 ล้านบาท
- Asset World Corporation หรือ AWC เป็นบริษัท 
ที่รวมเอาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน 
และโรงแรมต่าง ๆ ที่เสี่ยเจริญเคยซื้อ มาอยู่ภายใต้บริษัทเดียว
ซึ่งโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ Asset World ก็อย่างเช่น 
ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า, ศูนย์การค้าเกทเวย์, ตึกเอ็มไพร์ สาทร, เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์, โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพ
โดยโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ปล่อยให้เช่าเป็นหลัก
ปัจจุบัน Asset World Corporation หรือ AWC มีมูลค่าบริษัทกว่า 126,000 ล้านบาท
- Univentures หรือ UV ทำธุรกิจสร้างคอนโดมิเนียม ภายใต้แบรนด์ Grand Unity
ซึ่งนอกจากทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้ว UV ก็ยังทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานอีกด้วย
ปัจจุบัน Univentures หรือ UV มีมูลค่าบริษัทกว่า 4,500 ล้านบาท
นอกจาก 3 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
เสี่ยเจริญก็ยังมีบริษัท TCC Assets ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นอกตลาดอีกด้วย
ซึ่ง TCC Assets เป็นอีกหนึ่งบริษัท ที่ผลักดันโครงการใหญ่ ๆ บนถนนพระราม 4 เช่น โครงการ The PARQ 
ไปจนถึงโครงการเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทย อย่าง One Bangkok
ซึ่งโครงการ One Bangkok ก็เป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ มูลค่า 120,000 ล้านบาท 
ที่มีทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัย และศูนย์การค้า บนพื้นที่รวมกว่า 1.83 ล้านตารางเมตร
โดยเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง TCC Assets กับ Frasers property Group
ทั้งหมดนี้ก็พอจะเป็นภาพรวมคร่าว ๆ ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในมือของเสี่ยเจริญ 
ซึ่งก็มีทั้งการพัฒนาที่ดินเปล่า ไปจนถึงการเข้าซื้อกิจการของบริษัทอื่น แล้วนำมาพัฒนาธุรกิจต่อ
จึงไม่น่าแปลกใจ ว่าทำไมเสี่ยเจริญ 
ถึงขึ้นชื่อว่าเป็น เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ของประเทศไทย..
References
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
-Fraser Property Group Annual Report 2022
แถ้าพูดถึงชื่อ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ธุรกิจที่คนไทยคุ้นเคยคงจะเป็น ไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของ เบียร์ช้าง
และอีกมุมที่หลายคนจะนึกถึงถัดมา น่าจะเป็นภาพการเป็นเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ เบอร์ต้น ๆ ของไทย
แล้วเส้นทางสู่การเป็นเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ในไทย ของเสี่ยเจริญ เริ่มมาอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ย้อนกลับไปในปี 2518 เจ้าสัวเจริญ เริ่มลงทุนในที่ดินผืนสำคัญ ในจังหวัดระยอง
โดยเวลาต่อมา หลังจากที่ธุรกิจโรงกลั่นสุรา ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ทำให้เสี่ยเจริญมีกระแสเงินสดมากขึ้น เขาจึงมุ่งเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มตัว
เริ่มด้วยการเริ่มซื้อห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ตรงแถวประตูน้ำ จากตระกูลบุญนาค เมื่อปี 2532
แล้วนำมารีโนเวตเป็น ห้างขายสินค้าไอทีครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย
ต่อมาในปี 2534 บริษัทในเครือของเสี่ยเจริญ ได้รับสิทธิ์ในการบริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่รัฐบาลเพิ่งสร้างแล้วเสร็จในปีนั้นพอดี
โดยศูนย์การประชุมดังกล่าว ถูกบริหารโดยบริษัทในเครือ TCC Group นั่นคือ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ต่อมาในขณะนั้น ประเทศไทยกำลังกลายมาเป็นจุดมุ่งหมายของเหล่านักท่องเที่ยว
เสี่ยเจริญเลยคว้าโอกาสเข้าไปลงทุนในธุรกิจโรงแรม
ด้วยการซื้อโรงแรมแม่ปิง เชียงใหม่ เข้ามาเป็นโรงแรมแห่งแรกในเครือ TCC Group ในปี 2534
ตามมาด้วยโรงแรมในเครืออิมพีเรียล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมดังอันดับต้น ๆ ของไทยในตอนนั้น
ทั้งหมด 7 แห่ง จากคุณอากร ฮุนตระกูล ในปี 2537
มาถึงตรงนี้ เราคงคิดว่าเสี่ยเจริญน่าจะต้องมีเงินสดเยอะมาก ถึงสามารถเข้าซื้อกิจการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ได้มากขนาดนี้
แล้วเสี่ยเจริญเอาเงินมาจากไหน ?
เงินทุนที่ใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ของเสี่ยเจริญนั้น มาจากกำไรของธุรกิจโรงกลั่นเหล้าเป็นหลัก
ส่วนหนึ่งเพราะ ระบบการค้าสุราในตอนนั้น ร้านค้าจะต้องวางเงินสดล่วงหน้า 1 เดือนให้กับเอเจนต์
ในการสั่งสินค้า
และธุรกิจค้าสุรา เป็นธุรกิจที่ได้มาร์จินหรืออัตรากำไรที่ดี สามารถผลิตกระแสเงินสดเข้ามาเป็นจำนวนมาก
เมื่อสามารถสะสมเงินทุนได้มากพอ
ทำให้เสี่ยเจริญสามารถซื้อกิจการต่อได้ แม้จะเป็นปีที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งก็ตาม
โดยในปี 2540 เสี่ยเจริญก็ซื้อตึกเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ในย่านสาทร ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครในตอนนั้น ต่อจากกลุ่มทุนฮ่องกง
พร้อมกับออกเงินสร้างสะพาน เชื่อมบริเวณแยกสาทร-นราธิวาส ใกล้ BTS ช่องนนทรีปัจจุบัน ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของย่านนั้น
ตั้งแต่ตอนนั้น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็ได้กลายมาเป็นเครื่องจักรทำเงิน
อีกขาหนึ่ง ต่อจากธุรกิจโรงกลั่นสุราและเบียร์ช้าง ของเสี่ยเจริญ
พอเป็นแบบนี้ ในปี 2546 เสี่ยเจริญได้ตัดสินใจ ยกระดับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
โดยการร่วมทุนกับกลุ่ม CapitaLand บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากสิงคโปร์
เพื่อพัฒนาโครงการที่พักอาศัยใจกลางเมือง
และเดินหน้า เข้าซื้อกิจการบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง
ปี 2550 เข้าซื้อกิจการ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ หรือ UV บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของเมืองไทย
ซึ่งที่ผ่านมา UV ก็ได้พัฒนาโครงการดัง
อย่างเช่น อาคารสำนักงาน Park Ventures ย่านเพลินจิต และเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมแบรนด์ Grand Unity
ปี 2555 เสี่ยเจริญก็ได้ใช้ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ เข้าไปซื้อ บมจ.แผ่นดินทอง พร้อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเมนท์ หรือ Goldenland ผู้พัฒนาโครงการอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ อย่างเช่น ตึกสาทรสแควร์
และในปีเดียวกันนั้นเอง กลุ่มบริษัทของเสี่ยเจริญ ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท Fraser and Neave หรือ F&N ซึ่งเป็นบริษัทของสิงคโปร์
โดยที่ F&N ได้ทำธุรกิจหลายอย่างมาก ตั้งแต่
ธุรกิจเครื่องดื่ม โดยเป็นเจ้าของสิทธิ์การขายสินค้าของ Nestlé ในภูมิภาคอาเซียน
อย่าง นมตราหมี นมคาร์เนชันธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งการซื้อกิจการในรอบนี้ เสี่ยเจริญก็ได้ร่วมประมูลผ่านกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ และบริษัท TCC Assets
จนสามารถคว้า 2 ธุรกิจหลักจาก F&N ด้วยมูลค่าเงินทุนกว่า 336,000 ล้านบาท
จุดนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
เพราะเสี่ยเจริญได้รีแบรนด์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเครือ F&N
และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “Frasers Property Group” อย่างที่เรารู้จักกันวันนี้นั่นเอง
หลังจากนั้นไม่นาน เสี่ยเจริญก็ได้ปั้น Frasers Property Thailand ขึ้นมา
โดยให้อยู่ภายใต้ Frasers Property Group อีกทีหนึ่ง
โดย Frasers Property Thailand ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร
ตั้งแต่อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า
ซึ่ง Frasers Property Thailand ก็ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยตัวย่อ FPT
ปัจจุบัน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ในเครือของเสี่ยเจริญ
มีทั้งหมด 3 บริษัทใหญ่ ๆ นั่นคือ
Frasers Property Thailand หรือ FPT เจ้าของโครงการชื่อดัง
อย่างสามย่านมิตรทาวน์, สีลมเอจ, โรงแรม ดับเบิลยู กรุงเทพ และ FYI Center
นอกจากจะเป็นเจ้าของโครงการขนาดใหญ่ใจกลางเมืองแล้ว
ก็ยังมีธุรกิจหลักอีกขาหนึ่ง นั่นคือ เป็นเจ้าของโรงงาน และคลังสินค้าให้เช่า
ในพื้นที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ 11 จังหวัด และต่างประเทศคือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย
และยังมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรกว่า 75 โครงการใน 13 จังหวัด ทั่วประเทศ
ปัจจุบัน Frasers Property Thailand หรือ FPT มีมูลค่าบริษัทกว่า 35,000 ล้านบาท
Asset World Corporation หรือ AWC เป็นบริษัท
ที่รวมเอาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน
และโรงแรมต่าง ๆ ที่เสี่ยเจริญเคยซื้อ มาอยู่ภายใต้บริษัทเดียว
ซึ่งโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ Asset World ก็อย่างเช่น
ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า, ศูนย์การค้าเกทเวย์, ตึกเอ็มไพร์ สาทร, เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์, โรงแรม เลอ เมอริเดียน กรุงเทพ
โดยโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ปล่อยให้เช่าเป็นหลัก
ปัจจุบัน Asset World Corporation หรือ AWC มีมูลค่าบริษัทกว่า 126,000 ล้านบาท
Univentures หรือ UV ทำธุรกิจสร้างคอนโดมิเนียม ภายใต้แบรนด์ Grand Unity
ซึ่งนอกจากทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้ว UV ก็ยังทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานอีกด้วย
ปัจจุบัน Univentures หรือ UV มีมูลค่าบริษัทกว่า 4,500 ล้านบาท
นอกจาก 3 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
เสี่ยเจริญก็ยังมีบริษัท TCC Assets ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นอกตลาดอีกด้วย
ซึ่ง TCC Assets เป็นอีกหนึ่งบริษัท ที่ผลักดันโครงการใหญ่ ๆ บนถนนพระราม 4 เช่น โครงการ The PARQ
ไปจนถึงโครงการเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทย อย่าง One Bangkok
ซึ่งโครงการ One Bangkok ก็เป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ มูลค่า 120,000 ล้านบาท
ที่มีทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัย และศูนย์การค้า บนพื้นที่รวมกว่า 1.83 ล้านตารางเมตร
โดยเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง TCC Assets กับ Frasers property Group
ทั้งหมดนี้ก็พอจะเป็นภาพรวมคร่าว ๆ ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในมือของเสี่ยเจริญ
ซึ่งก็มีทั้งการพัฒนาที่ดินเปล่า ไปจนถึงการเข้าซื้อกิจการของบริษัทอื่น แล้วนำมาพัฒนาธุรกิจต่อ
จึงไม่น่าแปลกใจ ว่าทำไมเสี่ยเจริญ
ถึงขึ้นชื่อว่าเป็น เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ของประเทศไทย..
References
-http://www.tcc.co.th/index.php?controller=business
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
-รายงานประจำปี 2565 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
-https://www.thebangkokinsight.com/news/ceo-insight/90814/
-https://viratts.com/2019/09/26/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%884-tcc-assets/
-Fraser Property Group Annual Report 2022
-https://en.wikipedia.org/wiki/Fraser_and_Neave
-https://www.marketingoops.com/exclusive/business-case/tcc-group-ep2/
-https://www.marketingoops.com/exclusive/business-case/chareon-tcc-take-over/
-https://www.thansettakij.com/business/tourism/554236
-https://brandinside.asia/thai-bev-rama-4-real-estate/
-https://positioningmag.com/1428066
-https://www.home.co.th/living/topic-23941
-https://www.genie-property.com/blog
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.