EV Station PluZ มีฟีเจอร์ใหม่แล้ว พร้อมให้ “ปลั๊กหมุด” เที่ยวทั่วไทย

EV Station PluZ มีฟีเจอร์ใหม่แล้ว พร้อมให้ “ปลั๊กหมุด” เที่ยวทั่วไทย

6 ธ.ค. 2023
OR x BrandCase
โดยผลสำรวจจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นับตั้งแต่เดือน ม.ค.- ต.ค. ปี 2566 พบว่า มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) ที่จดทะเบียนใหม่ มากถึง 77,741 คัน
เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในจำนวนนี้มีรถยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงอยู่ถึง 58,078 คัน
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทั้งคนใช้รถยนต์ไฟฟ้า และคนที่กำลังจะหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า ให้ความสนใจก็คือ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานอย่าง “จำนวนสถานีแท่นชาร์จไฟฟ้า” นั่นเอง
ซึ่งตอนนี้ก็มีหลายบริษัท ที่ได้เปิดให้บริการสถานีแท่นชาร์จไฟฟ้า
เพื่อรองรับการใช้งาน และเทรนด์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
โดยหนึ่งในผู้ให้บริการแท่นชาร์จไฟฟ้า ที่ได้เปิดให้บริการในไทยเป็นเจ้าแรก ๆ ก็คือ “EV Station PluZ” ของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR
ปัจจุบันโมเดล EV Station PluZ นี้มีการขยายเครือข่ายของสถานีชาร์จ ออกไปมากกว่า 500 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย และถือเป็นเจ้าที่มีสถานีชาร์จไฟฟ้า มากเป็นอันดับ 1 ในไทยอีกด้วย
ล่าสุด EV Station PluZ ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ด้วยการเพิ่มระบบการ ”ชาร์จต่อเนื่อง” อัตโนมัติ
โดยไม่ต้องถอดสายชาร์จเสียบใหม่ เมื่อหมดรอบชาร์จ เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า
อีกทั้งยังมีแคมเปญ “ปลั๊กหมุด” ตามจุดชาร์จในสถานี EV Station PluZ ตามจังหวัดที่เราไปท่องเที่ยว ออกมาเป็นไดอารีท่องเที่ยวรูปแผนที่ประเทศไทย ให้เราแชร์ลงโซเชียลมีเดีย เพื่อลุ้นรับรางวัลใหญ่ได้อีกด้วย
โมเดลธุรกิจ EV Station PluZ และแคมเปญปลั๊กหมุดของ OR มีอะไรน่าสนใจบ้าง ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า EV Station PluZ ถือเป็นอีกหนึ่งการให้บริการด้านพลังงานทางเลือก ที่ OR ทำขึ้นมา เพื่อรองรับความต้องการ ของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับแนวโน้มความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกในอนาคต
โดยโมเดลธุรกิจนี้ของ OR ได้เปิดให้บริการครั้งแรก มาตั้งแต่เมื่อปี 2561
ซึ่งถือเป็นช่วงปีแรก ๆ ที่รถยนต์ไฟฟ้าได้เข้ามาในไทย
แล้วปัจจุบันสถานีชาร์จ EV Station PluZ มีเครื่องชาร์จแบบไหนให้บริการบ้าง ?
- แบบ Normal Charge
โดยรูปแบบ Normal Charge จะเป็นแท่นชาร์จที่มีหัวชาร์จประเภท Type 2 ตามมาตรฐานของประเทศไทย ด้วยกำลังไฟ 7.4 กิโลวัตต์ และเป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าของฝั่งยุโรป
ซึ่งจะเหมาะสำหรับรถยนต์ประเภท PHEV (Plug-In Hybrid Electric Vehicle) หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV ที่มีการใช้งานในพื้นที่ที่มีการจอดนาน โดยจะใช้เวลาในการชาร์จขั้นต่ำประมาณ 3 ชม.
- แบบ Quick Charge
โดยรูปแบบ Quick Charge จะเป็นแท่นชาร์จที่มีหัวชาร์จ AC Type 2 และ CCS COMBO 2 เพื่อรองรับหัวชาร์จรถยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งเหมาะสำหรับรถยนต์ประเภท BEV หรือรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า 100%
ข้อดีของแท่นชาร์จประเภทนี้ คือ ใช้เวลาในการชาร์จน้อย เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่เร่งด่วน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในเมือง รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยว
โดยจะใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 30 นาที ก็สามารถเติมความจุได้ถึง 80% ของความจุแบตเตอรี่
ในส่วนของอัตราการให้บริการ จะแบ่งเป็นค่าชาร์จ และค่าจองชาร์จล่วงหน้า
โดยค่าชาร์จ จะคำนวณตามปริมาณการชาร์จไฟจริง โดยกำหนดราคาตามช่วงเวลาการใช้งาน (Time of Use: TOU) อ้างอิงตามค่าไฟที่เรียกเก็บจากทางการไฟฟ้า เช่น
- ช่วง Peak ราคา 7.5 บาทต่อหน่วย สำหรับวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09:00-22:00 น.
- ช่วง Off-Peak 5.5 บาทต่อหน่วย สำหรับวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22:00-09:00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์
สำหรับค่าจองเวลาชาร์จล่วงหน้า จะอยู่ที่ประมาณ 20 บาท ต่อช่วงเวลาการจอง และหลังจากที่ใช้บริการภายในรอบเวลาที่จอง ระบบก็จะคืนค่าจองเป็นส่วนลดค่าชาร์จในรอบการจองนั้นให้
แต่หนึ่งในข้อจำกัดที่อาจกวนใจ และสร้างความยุ่งยากเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับคนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ก็คือต้องคอยกลับมาเสียบสายชาร์จใหม่ หลังจากที่หมดรอบชาร์จ
ซึ่งจากปัญหาเล็กน้อยนี้เอง ทำให้ OR ต้องทำการพัฒนาระบบการชาร์จแบบใหม่ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
ล่าสุด EV Station PluZ ก็ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ เพื่อเพิ่มความมั่นใจระหว่างการเดินทาง และเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเพิ่มระบบการ “ชาร์จต่อเนื่อง” อัตโนมัติ
ทำให้สามารถชาร์จได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องถอดสายชาร์จเสียบใหม่ เมื่อหมดรอบชาร์จ (กรณีที่ช่วงเวลาต่อไปไม่มีการจอง ทั้งรูปแบบ Walk-in และจองชาร์จล่วงหน้า)
อีกทั้งยังสามารถจองชาร์จล่วงหน้าได้สูงสุด 10 ช่วงเวลา/วัน เพื่อตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภคที่ต้องเตรียมรถให้พร้อม สำหรับการเดินทางไกล รวมถึงการให้บริการชาร์จ ที่ครอบคลุมการใช้งานในรถขนส่ง หรือรถโดยสารขนาดใหญ่ อย่างเช่น รถเมล์ไฟฟ้า อีกด้วย
สำหรับการใช้งานที่สถานีชาร์จ EV Station PluZ ทาง OR ได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการเดินทาง ได้ครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกแก่ผู้ใช้รถ EV เช่น
ระบบคำนวณระยะทาง ระบบค้นหา และนำทางไปยังสถานีชาร์จ EV Station PluZ ที่เปิดให้บริการอยู่ตามเส้นทางถนน ระบบการจองเพื่อเข้าชาร์จ เริ่ม-หยุดการชาร์จ ระบบชำระเงิน และการตรวจสอบประวัติการใช้งาน ได้ภายในแอปพลิเคชันเดียว
ที่มากไปกว่านั้นคือ ตอนนี้ EV Station PluZ กำลังจัดแคมเปญ “ปลั๊กหมุด” ซึ่งเป็นคำที่เลียนเสียงกับคำว่า “ปักหมุด” เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นแล้วนึกถึง ความครอบคลุมของสถานีบริการ EV Station PluZ ที่มีครบทั้ง 77 จังหวัด
รวมไปถึงมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้คนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า สามารถร่วมสนุกได้ง่าย ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- EV Diary ใช้ Microsite สรุปว่าตลอดปี 2566 ผู้ใช้บริการ EV Station PluZ มีการเดินทางไปเที่ยว และชาร์จในสถานี EV Station PluZ มาแล้วกี่จังหวัด
ซึ่งเป็นเหมือนไดอารีท่องเที่ยวประจำตัว แต่แค่เปลี่ยนจากการประทับตรา เป็นการ “ปลั๊กหมุด” ในจุดที่เคยชาร์จ เพื่อเป็นการเช็กอินจังหวัดที่เราไปท่องเที่ยวนั่นเอง
โดยทั้งหมดนี้ จะสรุปออกมาเป็นรูปแผนที่ประเทศไทย และผู้เข้าร่วมสามารถอัปโหลดภาพที่เคยไปเที่ยวในจังหวัดต่าง ๆ เข้าไป เพื่อให้สรุปออกมาเป็นภาพกิจกรรม ที่สามารถแชร์ลง Facebook เพื่อลุ้นรับของรางวัล Gift Set จาก EV Station PluZ ได้อีกด้วย
- ปลั๊กหมุด Next Time หลังจากที่ทุกคนได้เล่น และแชร์ภาพกิจกรรมสนุก ๆ จาก EV Station PluZ
ยังมีการเล่นทายจังหวัดจากภาพที่ KOL ถ่ายคู่กับตู้ชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ ในจังหวัดต่าง ๆ
สำหรับใครที่ทายถูกว่า KOL กำลังจะเดินทางไปที่จังหวัดไหน มีรางวัลใหญ่เป็น Voucher ที่พักจาก EV Station PluZ เพื่อไปปลั๊กหมุดท่องเที่ยวต่อในครั้งหน้า
โดยปัจจุบัน EV Station PluZ ได้ขยายสถานีชาร์จออกไปมากกว่า 500 สถานี (ข้อมูล ณ 31 ตุลาคม 2566) ซึ่งครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย
ซึ่งถ้าถามต่อว่า แผนในอนาคตต่อจากนี้ OR จะขยาย EV Station PluZ ไปได้มากขนาดไหน ?
เรื่องนี้ทาง OR ได้วางแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า EV Station PluZ ให้มากขึ้น รวมเป็น 800 แห่ง ภายในสิ้นปี 2566 นี้
ในขณะเดียวกันก็ยังมีการวางแผน ในการหาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ในการขยาย EV Station PluZ อย่างต่อเนื่อง โดยวางเป้าหมายไว้ที่ 7,000 หัวชาร์จ (แบบ DC) ภายในปี 2573
เพื่อให้ครอบคลุมทั้งบนถนนสายหลัก ถนนสายรอง อำเภอขนาดใหญ่ และเชื่อมเส้นทางตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญภายในประเทศ
ซึ่งนอกจากจะมีการขยายไปในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ที่เป็นจุดแวะพัก ยังมี Commercial Area อื่น ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร และอาคารสำนักงาน
เพื่อให้พร้อมสำหรับจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า ที่มากขึ้นในอนาคตนั่นเอง..
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.