
ถ้า เดอะมอลล์ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะมีมูลค่าแค่ไหน ?
28 พ.ค. 2023
ถ้า เดอะมอลล์ อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะมีมูลค่าแค่ไหน ? | BrandCase
ถ้าพูดถึงเจ้าของศูนย์การค้ารายใหญ่ในประเทศไทย
นอกจากกลุ่มเซ็นทรัล หลายคนก็จะนึกถึง เดอะมอลล์กรุ๊ป
นอกจากกลุ่มเซ็นทรัล หลายคนก็จะนึกถึง เดอะมอลล์กรุ๊ป
เดอะมอลล์กรุ๊ป คือเจ้าของศูนย์การค้า เดอะมอลล์
และอีกหลายศูนย์การค้า เช่น สยามพารากอน, ดิ เอ็มควอเทียร์, ดิ เอ็มโพเรียม
และอีกหลายศูนย์การค้า เช่น สยามพารากอน, ดิ เอ็มควอเทียร์, ดิ เอ็มโพเรียม
ทุกวันนี้ เดอะมอลล์กรุ๊ป ยังเป็นธุรกิจนอกตลาด บริหารโดยครอบครัวอัมพุช ที่ปลุกปั้นเดอะมอลล์ขึ้นมา
ธุรกิจทุกวันนี้ของ เดอะมอลล์กรุ๊ป มีอะไรบ้าง
แล้วถ้าเดอะมอลล์กรุ๊ป เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะมีมูลค่าสักแค่ไหน ?
BrandCase ชวนทุกคนมาลองวิเคราะห์กัน
แล้วถ้าเดอะมอลล์กรุ๊ป เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะมีมูลค่าสักแค่ไหน ?
BrandCase ชวนทุกคนมาลองวิเคราะห์กัน
จุดเริ่มต้นของ เดอะมอลล์กรุ๊ป เริ่มต้นโดย คุณศุภชัย อัมพุช ที่อดีตเคยทำธุรกิจอาบอบนวด บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่มาก่อน
ด้วยความที่เห็นโอกาสการเติบโตในธุรกิจห้างสรรพสินค้า จึงหันมาทำธุรกิจนี้ โดยเริ่มเปิด เดอะมอลล์ สาขาแรกที่ราชดำริ ในปี 2524
ซึ่งก็คือพื้นที่แถว ๆ ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์ และติดกับศูนย์การค้าเกษรวิลเลจ ในปัจจุบัน
ซึ่งก็คือพื้นที่แถว ๆ ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์ และติดกับศูนย์การค้าเกษรวิลเลจ ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม เดอะมอลล์ สาขาแรกนั้นไปได้ไม่ค่อยสวย
เพราะพื้นที่ย่านนั้น เต็มไปด้วยห้างค้าปลีกจากต่างชาติ อย่างเช่น ห้างไทยไดมารู จากญี่ปุ่น
เพราะพื้นที่ย่านนั้น เต็มไปด้วยห้างค้าปลีกจากต่างชาติ อย่างเช่น ห้างไทยไดมารู จากญี่ปุ่น
จนเดอะมอลล์ ราชดำริ ต้องปิดตัวไป และให้บริษัทอื่นเช่าดำเนินการ เป็นศูนย์ศิลปหัตถกรรมแทนในภายหลัง
ขณะเดียวกัน ในปี 2526 คือหลังจากเปิดเดอะมอลล์ ราชดำริ ไปได้ 2 ปี คุณศุภชัย ก็เปิดเดอะมอลล์สาขา 2 คือ เดอะมอลล์ รามคำแหง
ขณะที่ในตอนนั้น คู่แข่งบางรายเริ่มรุกธุรกิจห้างสรรพสินค้าในเมืองมากขึ้น
แต่สำหรับคุณศุภชัยนั้น เขากลับคิดต่างจากคู่แข่ง
เพราะเล็งเห็นว่า พื้นที่ย่านชานเมืองก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเปิดห้างสรรพสินค้าเช่นกัน
แต่สำหรับคุณศุภชัยนั้น เขากลับคิดต่างจากคู่แข่ง
เพราะเล็งเห็นว่า พื้นที่ย่านชานเมืองก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเปิดห้างสรรพสินค้าเช่นกัน
นอกจากนี้ ก็พยายามหาจุดขายให้แก่ห้างของเดอะมอลล์ที่จะเปิดใหม่ เพื่อดึงดูดให้คนมาเข้าห้างมากขึ้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ เขาจึงเริ่มมาเปิดเดอะมอลล์ตามพื้นที่ชานเมืองอื่น ๆ ตามมา และเอาจุดขายใหม่ ๆ เข้าศูนย์การค้ามากขึ้น
เช่น มีการนำโรงหนังเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ลานสเกตช์ และสวนน้ำบนดาดฟ้า มาเป็นจุดขายให้ศูนย์การค้า
ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้เดอะมอลล์ เป็นที่รู้จัก และสามารถแข่งขันกับศูนย์การค้าอื่น ๆ ได้ดี ก่อนที่จะเปิดสาขาอื่น ๆ ตามมาอีกเรื่อย ๆ
จนมาวันนี้ เดอะมอลล์ ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ห้างสรรพสินค้าที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นมานานกว่า 4 ทศวรรษ
ปัจจุบัน ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ เปิดให้บริการทั้งหมด 6 สาขา
โดย 5 สาขา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือ
เดอะมอลล์ รามคำแหง, เดอะมอลล์ บางแค, เดอะมอลล์ บางกะปิ, เดอะมอลล์ ท่าพระ, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน และอีก 1 แห่งอยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา
เดอะมอลล์ รามคำแหง, เดอะมอลล์ บางแค, เดอะมอลล์ บางกะปิ, เดอะมอลล์ ท่าพระ, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน และอีก 1 แห่งอยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา
แต่ธุรกิจของเดอะมอลล์กรุ๊ป ไม่ได้มีเพียงแค่ เดอะมอลล์เท่านั้น
เพราะยังมีแบรนด์ศูนย์การค้าในเครืออื่นอีก
เพราะยังมีแบรนด์ศูนย์การค้าในเครืออื่นอีก
เช่น
-ดิ เอ็มโพเรียม
ที่ร่วมทุนกับกลุ่มโสภณพนิช เจ้าของธนาคารกรุงเทพ เน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติและลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง
ที่ร่วมทุนกับกลุ่มโสภณพนิช เจ้าของธนาคารกรุงเทพ เน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติและลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง
-สยามพารากอน ที่ร่วมทุนกับกลุ่มสยามพิวรรธน์ เน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังระดับกลางถึงระดับสูง รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว และกลุ่มลูกค้าต่างชาติ
-ดิ เอ็มควอเทียร์ ที่ร่วมทุนกับกลุ่มภิรัชบุรี เน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ และลูกค้าที่มีกำลังซื้อระดับกลางถึงระดับสูง
-กูร์เมต์ มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นขายสินค้าคุณภาพสูง สดใหม่จากทุกมุมโลก
-ร้านค้าปลีกแบรนด์ต่าง ๆ ของเดอะมอลล์กรุ๊ปเอง
เช่น BeTrend ขายสินค้าไลฟ์สไตล์ ของใช้ทั่วไป
Power Mall ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร
Sports Mall ขายอุปกรณ์และเสื้อผ้ากีฬา
เช่น BeTrend ขายสินค้าไลฟ์สไตล์ ของใช้ทั่วไป
Power Mall ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร
Sports Mall ขายอุปกรณ์และเสื้อผ้ากีฬา
โดยผลประกอบการของ บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด ปี 2565 ที่ผ่านมา
รายได้ 16,417 ล้านบาท กำไร 1,138 ล้านบาท
รายได้ 16,417 ล้านบาท กำไร 1,138 ล้านบาท
แล้วถ้า เดอะมอลล์กรุ๊ป จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะมีมูลค่าสักแค่ไหน ?
ต้องบอกว่า ธุรกิจของ เดอะมอลล์กรุ๊ป ในวันนี้ มีทั้งธุรกิจบริหารศูนย์การค้า คือจะมีรายได้จากการให้ร้านค้าเช่าพื้นที่ภายในศูนย์การค้า
ธุรกิจแบบนี้ จะไปคล้ายกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
ที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจศูนย์การค้า
ซึ่งเซ็นทรัลพัฒนา มี P/E ประมาณ 30 เท่า
ที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจศูนย์การค้า
ซึ่งเซ็นทรัลพัฒนา มี P/E ประมาณ 30 เท่า
และธุรกิจค้าปลีก คือร้านค้าต่าง ๆ เช่น กูร์เมต์ มาร์เก็ต, BeTrend, Power Mall, Sports Mall ขายอุปกรณ์และเสื้อผ้ากีฬา
ธุรกิจแบบนี้ จะไปคล้ายกับ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจค้าปลีก
ซึ่งเซ็นทรัล รีเทล มี P/E ประมาณ 40 เท่า
ที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจค้าปลีก
ซึ่งเซ็นทรัล รีเทล มี P/E ประมาณ 40 เท่า
ถ้าสมมติคร่าว ๆ ว่า เดอะมอลล์กรุ๊ป เข้าตลาดหลักทรัพย์ไป แล้วมี P/E ประมาณ 30-40 เท่า
หมายความว่า เดอะมอลล์กรุ๊ป จะมีมูลค่าบริษัทตามราคาตลาด
ประมาณ 34,000 - 46,000 ล้านบาท นั่นเอง..
ประมาณ 34,000 - 46,000 ล้านบาท นั่นเอง..