องค์กรแบบไหน ที่คนรุ่นใหม่ “ไม่อยากทำงานด้วย” วิเคราะห์แคมเปญโฆษณาตัวใหม่ ของกสิกรไทย

องค์กรแบบไหน ที่คนรุ่นใหม่ “ไม่อยากทำงานด้วย” วิเคราะห์แคมเปญโฆษณาตัวใหม่ ของกสิกรไทย

2 ธ.ค. 2022
เรามักจะเจอคำถามว่า องค์กรแบบไหน ที่เราอยากทำงานด้วย ?
ซึ่งคำตอบที่ได้ยิน ก็จะแตกต่างกันไป ตามความต้องการ และพื้นฐานของแต่ละคน
แต่ถ้าถามกลับกันว่า องค์กรแบบไหน ที่คนไม่อยากทำงานด้วย ?
คำตอบที่ได้ยินบ่อย ๆ จากคนสมัยนี้ คงจะแยกเป็นข้อ ๆ ได้ประมาณว่า..
- องค์กรที่ ไม่มีพื้นที่ให้เราได้ปลดปล่อยความสามารถได้อย่างเต็มที่
- องค์กรที่ เต็มไปด้วย Toxic People ทำงานด้วยลำบาก
- องค์กรที่ มองความผิดพลาด ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย
และนี่ก็เป็นประเด็นน่าสนใจ ที่ทาง KBank หรือธนาคารกสิกรไทย หยิบเอามาเล่นเป็นแคมเปญ เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ขององค์กร
โฆษณาที่ว่านี้ของ KBank ต้องการจะสื่ออะไร ?
BrandCase จะพาไปดูกัน แบบให้เห็นภาพชัด ๆ
ถ้าพูดถึงภาพจำของธุรกิจธนาคาร หลายคนคงมีภาพจำในมุมของวัฒนธรรมองค์กรการทำงานว่า
- เป็นองค์กรใหญ่ ปรับตัวช้า
- ลำดับขั้นเยอะ มีกรอบการทำงานเต็มไปหมด
- พนักงานตัวเล็ก ไม่ค่อยมีโอกาสลองทำอะไรใหม่ ๆ
พูดง่าย ๆ คือ ไม่ค่อยเหมาะกับไลฟ์สไตล์การทำงานของคนสมัยนี้หลาย ๆ คน
จนทำให้องค์กรในธุรกิจนี้กลายเป็น สถานที่ที่คนยุคใหม่ไม่อยากทำงานด้วย
ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank ก็หยิบเอาประเด็นที่เป็นภาพจำแบบนี้ ออกมาทำเป็นแคมเปญใหม่เสียเลย..
โดย KBank เพิ่งปล่อยวิดีโอหนังสั้นตัวใหม่
ซึ่งเล่าเรื่องเป็น 3 ฉาก หลัก ๆ ที่สื่อถึงวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร ที่ไม่น่าทำงานด้วย คือ
1. Limitless Growth ความสามารถไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีที่ให้ใช้
เรื่องราวที่เล่าถึง หัวหน้าที่คอยสั่ง และคอยควบคุมลูกน้องทุกขั้นตอน คอยขี่คอคุมลูกน้อง จนไม่มีพื้นที่ให้ลูกน้องได้ใช้ความสามารถของตัวเอง
2. Talented People เต็มไปด้วย Toxic People ทำงานด้วยลำบาก
เรื่องราวที่เล่าถึง เพื่อนร่วมงานที่มีพฤติกรรมอยากมีซีน เลียหัวหน้าเก่ง หิวแสง ทำงานเอาหน้า และไม่เคยให้เครดิตคนที่ทำงานจริง ๆ
3. Better Opportunities through Powerful Resources มองความผิดพลาด ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย
เรื่องราวที่เล่าถึง พนักงานที่มีไอเดียบรรเจิดมาก แต่ไม่มี Mindset กล้าลองผิดลองถูก หรือไม่มีทุนสนับสนุนจากองค์กร
ซึ่งจากโฆษณาที่เพิ่งเล่าให้ฟังนี้ KBank รู้ดีว่า คนเก่งและคนรุ่นใหม่ อยากไปทำงานในบริษัทยุคใหม่ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิต และการทำงานของตัวเอง
ทาง KBank จึงพยายามปรับภาพลักษณ์ของวัฒนธรรมการทำงาน ให้เปลี่ยนไปจากภาพจำเดิม ๆ
ประเด็นที่ 1 คือ Limitless Growth
ถ้ามีความสามารถ แต่ไม่มีพื้นที่ให้ใช้ ใครจะอยากพัฒนาตัวเอง
ซึ่งวิธีแก้เรื่องนี้ของ KBank ก็อย่างเช่น
- มีหน้างานที่หลากหลาย ทั้งในประเทศและนอกประเทศกว่า 2,000 ตำแหน่ง และเปิดโอกาสและพื้นที่ให้คนทำงานได้ลองทำงานในหน้างานที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นพบตำแหน่งงานที่ตัวเองถนัด และเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ
- ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน KBank Academy คือแพลตฟอร์มเรียนรู้แบบออนไลน์ ที่สอนทั้ง Hard Skills เช่น เรื่อง FinTech, Data Analytic และ Digital Skill
นอกจากนี้ยังมี Soft Skills เช่น สอนเทคนิคการมองหาไอเดียเจ๋ง ๆ มาแก้ปัญหาในการทำงาน, ความสามารถในการจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบระเบียบ ให้เลือกเรียนได้แบบไม่จำกัด
ประเด็นที่ 2 คือเรื่อง Talented People
ถ้าองค์กรเต็มไปด้วย Toxic People ทำงานด้วยลำบาก แล้วใครจะอยากมาทำงาน ?
ซึ่งวิธีแก้เรื่องนี้ของ KBank ก็อย่างเช่น
- การสร้างผู้นำที่น่าร่วมงานด้วย ให้อิสระ มอบอำนาจให้ทีมในการทำงาน โดยคอยให้คำแนะนำ ลงมือแก้ปัญหาร่วมกับทีม เป็นผู้รับฟังที่ดี เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้งานที่ทีมทำมีคุณค่า เพราะผู้นำจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี และมอบพลังบวกให้กับทีม
- เปลี่ยนวิธีการทำงานแบบ Waterfall หรือแบบลำดับขั้นที่ให้เป็นแบบ Agile คือเน้นซอยเป้าหมายใหญ่ ให้เป็นเป้าหมายย่อย ๆ ค่อย ๆ ทำไป เรียนรู้ความผิดพลาดไป แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนสุดท้ายไปถึงเป้าหมายใหญ่ได้ในที่สุด
- สนับสนุน และสร้าง Agile Mindset ให้พนักงาน มีโอกาสได้ลองทำ ยอมให้พนักงานได้ Fail Fast แต่ Fail Forward เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ จนเก่งขึ้นได้เรื่อย ๆ
ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแบบ “ผิดพลาด ไม่ใช่ล้มเหลว” คือให้มองความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่เจอได้ และคอยเอาชนะมันให้ได้ นั่นเอง..
ประเด็นที่ 3 คือเรื่อง Better Opportunities through Powerful Resources
ถ้ามีไอเดียแต่ไม่มีโอกาสที่จะทำให้เป็นไปได้ จะอยากคิดอะไรใหม่ ๆ ไปทำไม ?
ซึ่งวิธีแก้เรื่องนี้ของ KBank ก็อย่างเช่น
- ให้โอกาสร่วมงานกับคนเก่ง ๆ จากนอกองค์กร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งของ KBank
คือมีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจเป็นบริษัทชั้นนำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทำให้พนักงานในองค์กร ได้มีโอกาสร่วมงานกับคนเก่ง ๆ นอกองค์กร จากหลาย ๆ แห่ง
เช่น โปรเจกต์ LINE BK ที่ทาง KBank เป็นพาร์ตเนอร์กับ Line Corporation ที่มีสำนักงานใหญ่ในญี่ปุ่น
โดยมีพนักงานหลายภาคส่วนของ KBank ได้ร่วมงานกับ LINE ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
และจากการที่ KBank มีลูกค้ากว่า 20 ล้านรายที่ใช้บริการแอปพลิเคชัน KPlus และมี KBTG ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีให้กสิกรไทย จึงทำให้ไอเดียต่าง ๆ เป็นไปได้
สรุปง่าย ๆ คือ KBank กำลังพยายามสื่อสารว่า ภาพจำของการทำงานกับธนาคารสีเขียวแห่งนี้ กำลังเปลี่ยนไป และจะตอบโจทย์ความต้องการของคนเก่ง ๆ ในสมัยนี้ได้
ซึ่งแม้ทุกอย่างจะไม่มีอะไรเพอร์เฟกต์ 100%
แต่ก็เป็นเรื่องน่ายินดี และน่าสนใจ
ที่ในวันนี้ องค์กรใหญ่อย่าง KBank ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้แบบจริงจัง
เพื่อให้กลายเป็นองค์กรที่คนมาทำงานด้วย
แล้วสามารถสร้างการเติบโต และการเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ ทั้งกับตัวเอง และสังคม
โดยกสิกรไทยเชื่อว่า “POSSIBILITY TO MAKE AN IMPACT” จะเกิดขึ้นได้ เมื่อพนักงานได้รับการเข้าใจและการสนับสนุน เพื่อให้พนักงานพัฒนาตัวเองได้อย่างเต็มศักยภาพจริง ๆ..
และต้องบอกด้วยว่า KBank สนับสนุนการทำงานแบบ Hybrid ด้วย “FITS” เป็น Way of Work ที่ทาง KBank ให้พนักงานออกแบบการทำงานร่วมกับหัวหน้า เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน
ทั้งเรื่องเวลาและสถานที่ แต่ยังคงเน้นเรื่องการส่งมอบผลงาน ที่สร้างอิมแพกต์ให้กับลูกค้า และยังเป็นการสร้างความไว้ใจให้เกิดขึ้นในทีมด้วย
มาค้นหาตำแหน่งงานกว่า 1,000 ตำแหน่ง ที่คุณเป็นได้ที่ https://kbank.co/3FcNoQU
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.