
กรณีศึกษา ร้านอาหารญี่ปุ่น “Fuji” เกิดจาก คนญี่ปุ่น ที่มาอยู่ไทย
30 ต.ค. 2022
กรณีศึกษา ร้านอาหารญี่ปุ่น “Fuji” เกิดจาก คนญี่ปุ่น ที่มาอยู่ไทย | BrandCase
พูดถึงร้านอาหารญี่ปุ่นดัง ๆ สักร้านในไทย
เชื่อว่าชื่อของ “Fuji Restaurant” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฟูจิ น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนนึกถึง
เชื่อว่าชื่อของ “Fuji Restaurant” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฟูจิ น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนนึกถึง
เคยสงสัยไหมว่า ฟูจิ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
BrandCase จะสรุปเรื่องนี้ให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะสรุปเรื่องนี้ให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
จุดเริ่มต้นของฟูจิ เกิดจากคุณทานากะ
อดีตพนักงานธนาคารชาวญี่ปุ่น ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ในปี 2519 ตามคำชักชวนของเพื่อนคนไทยที่ตอนนั้นทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ในประเทศไทย
อดีตพนักงานธนาคารชาวญี่ปุ่น ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ในปี 2519 ตามคำชักชวนของเพื่อนคนไทยที่ตอนนั้นทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ในประเทศไทย
หลังจากช่วยเพื่อนบริหารร้านอาหารไทยได้สักพัก
คุณทานากะก็เริ่มหาลู่ทาง ในการเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นของตัวเอง โดยเป้าหมายคือ เพื่อขายอาหารให้แก่คนญี่ปุ่นที่มาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นหลัก
คุณทานากะก็เริ่มหาลู่ทาง ในการเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นของตัวเอง โดยเป้าหมายคือ เพื่อขายอาหารให้แก่คนญี่ปุ่นที่มาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นหลัก
ตอนนั้นเขามองว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นในเมืองไทย มีราคาค่อนข้างแพง
และเขาสามารถทำร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ด้วยราคาที่ถูกลงกว่านั้นได้
และเขาสามารถทำร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ด้วยราคาที่ถูกลงกว่านั้นได้
พอเรื่องเป็นแบบนี้ คุณทานากะ จึงเปิดร้านอาหารญี่ปุ่น โดยมีชื่อว่า “ซูชิ ซึคิจิ” ซึ่งเป็นร้านขายซูชิ
เมื่อเขาเชื่อว่า ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นไปได้สวยแน่ ๆ จึงตัดสินใจเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นอีกแห่งขึ้น ในปี 2542
โดยครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “ฟูจิ” ซึ่งเปิดสาขาแรกที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าว
ซึ่งการเปิดตัวของฟูจิในตอนนั้น ทำให้ฟูจิกลายเป็นเชนร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งแรก ในศูนย์การค้าใหญ่ในประเทศไทยอีกด้วย
และต้องบอกว่า ในช่วงนั้นประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นวิกฤติต้มยำกุ้งมาไม่นาน
ผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการ เลือกทานอาหารที่คุ้มค่าเงินมากที่สุด ซึ่งฟูจิสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีกว่าร้านอาหารญี่ปุ่นรายอื่น ที่มีราคาสูงกว่า
ผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการ เลือกทานอาหารที่คุ้มค่าเงินมากที่สุด ซึ่งฟูจิสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีกว่าร้านอาหารญี่ปุ่นรายอื่น ที่มีราคาสูงกว่า
ร้านฟูจิของคุณทานากะ ไม่เพียงแค่ใช้กลยุทธ์การตั้งราคา ที่คนจำนวนมากเข้าถึงได้ แต่มีการปรับรสชาติให้ถูกปากถูกใจคนไทยมากขึ้น
รวมถึงให้ความสำคัญอย่างมาก กับการคัดสรรวัตถุดิบที่ใหม่ สะอาด และปรุงอย่างพิถีพิถันทุกขั้นตอน มีการจัดวางอาหารบนจานให้ดูสวยงาม
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ ฟูจิ เติบโตอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ที่สำคัญคือ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ก็เติบโตขึ้นอย่างมาก
ซึ่งเกิดมาจากหลายปัจจัย เช่น
ซึ่งเกิดมาจากหลายปัจจัย เช่น
-วัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมทั้งอาหารที่แพร่หลายในประเทศไทยมากขึ้น
-การเข้ามาอยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย
-การเพิ่มขึ้นของศูนย์การค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด ทำให้มีการไปเปิดร้านอาหารญี่ปุ่น ในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น
-การเข้ามาอยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย
-การเพิ่มขึ้นของศูนย์การค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด ทำให้มีการไปเปิดร้านอาหารญี่ปุ่น ในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่าก็ตามมาด้วยจำนวนคู่แข่งที่มากขึ้น
สะท้อนจากจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
สะท้อนจากจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ปี 2555 จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่น มากกว่า1,600 ร้าน
ปี 2564 จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่น มากกว่า 4,300 ร้าน
ปี 2564 จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่น มากกว่า 4,300 ร้าน
แน่นอนว่า เรื่องนี้ก็สร้างความท้าทาย ให้แก่แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นทุกแห่ง ไม่เว้นแต่แม้ ฟูจิ
ซึ่งตรงจุดนี้ทางผู้บริหารของฟูจิก็มองว่า
จุดแข็งของฟูจิ คือ การเป็นแบรนด์ที่อยู่มานาน มีฐานลูกค้าเก่าหลายคน
จุดแข็งของฟูจิ คือ การเป็นแบรนด์ที่อยู่มานาน มีฐานลูกค้าเก่าหลายคน
ทั้งที่เคยทานตั้งแต่เด็ก จนเมื่อโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่มีครอบครัวก็จะพาครอบครัวมาทานด้วย
อย่างไรก็ตาม ฟูจิก็ยังต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งร้านให้ดูสวยงาม น่านั่ง การใส่ใจเรื่องการให้บริการลูกค้า การนำเสนอโปรโมชันและส่วนลด
รวมไปถึงการคิดค้นเมนูให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ
และนี่คือ เรื่องราวของฟูจิ แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่น
ที่เกิดขึ้นเพราะคนญี่ปุ่น ที่เดินทางมาเมืองไทย
ที่เกิดขึ้นเพราะคนญี่ปุ่น ที่เดินทางมาเมืองไทย
และเห็นโอกาสทางธุรกิจ
จนสร้างแบรนด์ฟูจิ ที่อยู่กับคนไทยมาแล้ว กว่า 2 ทศวรรษนั่นเอง..
จนสร้างแบรนด์ฟูจิ ที่อยู่กับคนไทยมาแล้ว กว่า 2 ทศวรรษนั่นเอง..
References
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B4_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%9B
-https://foodstory.co/2022/06/24/japan-res/
-https://www.tgi.co.th/our/
-https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/300073
-https://www.amarintv.com/spotlight/business-marketing/detail/28323
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B4_%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%9B
-https://foodstory.co/2022/06/24/japan-res/
-https://www.tgi.co.th/our/
-https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/300073
-https://www.amarintv.com/spotlight/business-marketing/detail/28323