
สรุปโมเดล ร้านทอง ทำไมรายได้เยอะ แต่กำไรบาง
30 ส.ค. 2022
สรุปโมเดล ร้านทอง ทำไมรายได้เยอะ แต่กำไรบาง | BrandCase
รู้ไหมว่า บริษัทค้าทองรายใหญ่ของไทยนั้น
มีรายได้กันปีละ หลักแสนล้านบาท
แต่กลับมีกำไรสุทธิ หลักสิบล้านบาท
มีรายได้กันปีละ หลักแสนล้านบาท
แต่กลับมีกำไรสุทธิ หลักสิบล้านบาท
แล้วโมเดลของร้านทอง เป็นอย่างไร ? ทำไมรายได้เยอะ แต่กำไรบาง
BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
ลองมาดู ผลประกอบการ ของบริษัทค้าทองรายใหญ่ของไทย ปี 2564
- บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัซ จำกัด
ปี 2564 รายได้ 737,393 ล้านบาท ต้นทุนขาย 737,173 ล้านบาท กำไร 79 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 737,393 ล้านบาท ต้นทุนขาย 737,173 ล้านบาท กำไร 79 ล้านบาท
- บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด (ห้างทองแม่ทองสุก)
ปี 2564 รายได้ 439,665 ล้านบาท ต้นทุนขาย 439,175 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 439,665 ล้านบาท ต้นทุนขาย 439,175 ล้านบาท กำไร 21 ล้านบาท
- บริษัท วาย แอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ปี 2564 รายได้ 455,035 ล้านบาท ต้นทุนขาย 454,679 ล้านบาท กำไร 67 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 455,035 ล้านบาท ต้นทุนขาย 454,679 ล้านบาท กำไร 67 ล้านบาท
จะเห็นว่า แม้ธุรกิจค้าทองจะมีรายได้สูง แต่อัตรากำไรนั้นต่ำมาก
เนื่องจากธุรกิจค้าทองนั้น เป็นธุรกิจที่มีต้นทุนขายที่สูงตามไปด้วย โดยจะเห็นว่า ทุกบริษัทที่ว่ามานี้ มีต้นทุนขายราว 99% ของรายได้รวม
ที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะว่า
ธุรกิจค้าทองทำรายได้มาจากส่วนต่างราคาทอง พูดง่าย ๆ ก็คือ “ซื้อมา-ขายไป”
ธุรกิจค้าทองทำรายได้มาจากส่วนต่างราคาทอง พูดง่าย ๆ ก็คือ “ซื้อมา-ขายไป”
เช่น รับซื้อทองจากนาย A มา หลังจากนั้นก็นำไปขายให้กับลูกนาย B โดยมีส่วนต่างของราคารับซื้อและราคาขาย
โมเดลธุรกิจแบบนี้ จะคล้าย ๆ กับธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์
ที่เป็นการจับคู่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยมีรายได้จากส่วนต่างของราคาซื้อขาย หรือค่าคอมมิชชัน
ที่เป็นการจับคู่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยมีรายได้จากส่วนต่างของราคาซื้อขาย หรือค่าคอมมิชชัน
ส่วนต่างของการซื้อขายทองคำนั้น เราเรียกกว่า “ค่ากำเหน็จ”
ซึ่งเป็นค่าแปรรูป และผลิตทองรูปพรรณ
โดยค่ากำเหน็จนี้ อาจมีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับลวดลาย และความยากง่ายในการผลิต
ซึ่งเป็นค่าแปรรูป และผลิตทองรูปพรรณ
โดยค่ากำเหน็จนี้ อาจมีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับลวดลาย และความยากง่ายในการผลิต
ส่วนการซื้อขายทองคำแท่ง ทางร้านทองก็จะคิดค่าบล็อก ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายในการหลอมทองคำให้ออกมาเป็นแท่ง
คำถามต่อมาคือ แล้วรายจ่ายของธุรกิจค้าทองคำที่มากนั้น ส่วนสำคัญประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?
- ค่าใช้จ่ายในการซื้อทองคำ
ซึ่งมีทั้งค่าซื้อทองรูปพรรณใหม่ ค่าซื้อทองรูปพรรณเก่าที่ลูกค้านำทองมาขายที่ร้านทอง และค่าซื้อทองคำแท่ง
โดยในส่วนของทองคำแท่งนั้น นอกจากปัจจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของราคาทองในตลาดโลก
ก็ยังมีค่าใช้จ่ายสำคัญอย่างอื่น เช่น ค่าประกันภัยในการนำเข้า-ส่งออก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ก็ยังมีค่าใช้จ่ายสำคัญอย่างอื่น เช่น ค่าประกันภัยในการนำเข้า-ส่งออก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ซึ่งหากร้านทองไม่ได้เป็นคนนำเข้าด้วยตัวเอง ราคาต้นทุนของทองคำ ก็จะสะท้อนไปอยู่ในราคาที่รับซื้อมาอีกที
- เงินเดือนพนักงาน
ต้นทุนพนักงานถือเป็นต้นทุนคงที่อีกตัว ที่ร้านค้าทองต้องแบกรับ
ไม่ว่าจะมีลูกค้าเข้าร้านมาก หรือน้อยแค่ไหน รวมไปถึงค่าจ้างช่างทำทอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทำ ลวดลายทอง และความต้องการซื้อ ณ เวลานั้น ๆ
ไม่ว่าจะมีลูกค้าเข้าร้านมาก หรือน้อยแค่ไหน รวมไปถึงค่าจ้างช่างทำทอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทำ ลวดลายทอง และความต้องการซื้อ ณ เวลานั้น ๆ
แต่บางร้านก็อาจเลือกจ้างช่างทำทองเป็นงาน ๆ ไป แล้วจ่ายค่าส่วนแบ่งให้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือน
- ดอกเบี้ยจ่าย
ร้านทองหลายแห่ง อาจมีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ มาเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งช่วงอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ร้านค้าทองต่าง ๆ ก็ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจ่ายที่มากขึ้นตามไปด้วย
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ร้านค้าทองหลายแห่ง โดยเฉพาะธุรกิจค้าทองคำขนาดใหญ่ มีการเช่าสถานที่ตามศูนย์การค้า หรือตามแหล่งชุมชน ทำให้มีภาระค่าเช่าสถานที่ รวมไปถึงค่าขนส่งทองคำไปตามสาขาต่าง ๆ
นอกจากนี้ ร้านค้าทองมักจะมีการทำประกันภัยร้านทอง เพื่อเป็นหลักประกันของความปลอดภัยของธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเช่นกัน
นอกจากนั้น ร้านทองยังมีความเสี่ยงอื่น ที่ต้องแบกรับไม่น้อยเหมือนกัน
เช่น ลองนึกภาพง่าย ๆ เวลาที่ราคาทองขึ้น คนส่วนใหญ่มักจะแห่นำทองออกมาขาย และไม่มีคนมาซื้อ
เช่น ลองนึกภาพง่าย ๆ เวลาที่ราคาทองขึ้น คนส่วนใหญ่มักจะแห่นำทองออกมาขาย และไม่มีคนมาซื้อ
พอเป็นแบบนี้ ร้านทองหลายที่ ก็ยังต้องเจอปัญหาขาดสภาพคล่อง จนหลายร้านต้องประกาศปิดชั่วคราวในหลาย ๆ ครั้ง
ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ก็อาจทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในตัวร้านได้
ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ก็อาจทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในตัวร้านได้
และทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปเหตุผลที่ร้านทอง รายได้เยอะ แต่อัตรากำไรต่ำ นั่นเอง..