เกลือหิมาลายัน สีชมพู ที่หลายคนชอบ มีที่มาอย่างไร ?
30 มิ.ย. 2022
เกลือหิมาลายัน สีชมพู ที่หลายคนชอบ มีที่มาอย่างไร ? | BrandCase
ถ้าใครเคยเข้าร้านสเต๊ก แล้วสังเกตเห็นขวดที่บรรจุก้อนเกลือสีชมพูวางอยู่บนโต๊ะอาหาร
หรือถ้าพิเศษกว่านั้น ก็น่าจะเป็น เมนูเนื้อย่างชั้นดีเสิร์ฟบนก้อนเกลือสีชมพูขนาดใหญ่..
รู้หรือไม่ว่า เกลือสีชมพูที่ว่านี้ มีชื่อเรียกว่า “เกลือหิมาลายัน”
ว่าแต่ความน่าสนใจของเกลือชนิดนี้เป็นอย่างไร ?
BrandCase จะสรุปให้ฟัง
ถ้าได้ยินชื่อของ “เกลือหิมาลายัน” หลายคนอาจคิดว่า เกลือชนิดนี้มีที่มาจากเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศอินเดีย
แต่ความจริงแล้ว เกลือชนิดนี้กลับถูกขุดขึ้นมาจากในเหมืองเกลือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ชื่อ Khewra ในประเทศปากีสถาน บริเวณใกล้เคียงกับเทือกเขาหิมาลัย
แล้ว เกลือหิมาลายัน ถูกค้นพบได้อย่างไร ?
เกลือสีชมพูนี้ ถูกค้นพบว่าน่าจะเกิดขึ้นจากการตกผลึกของทะเลโบราณ
ตามหลักฐานอ้างอิงที่มีการบันทึกถึงเกลือสีชมพูนี้เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 13 จากการขุดพบของกลุ่มชนเผ่า Janjua Raja
โดยเกลือสีชมพูนี้ ถูกขุดขึ้นมาจากเหมืองเกลือ Khewra ในเทือกเขาเกลือ ที่รัฐปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
ที่อยู่ห่างจากเทือกเขาหิมาลัยประมาณเกือบ 300 กิโลเมตร
ในตอนแรกนั้น ปากีสถานยังไม่สามารถแปรรูปเกลือสีชมพูดิบได้
ทำให้เกลือส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างอินเดีย ในราคาที่ถูกมาก แล้วอินเดียก็นำเกลือเหล่านั้น มาบรรจุและส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ อีกที เช่น สหรัฐอเมริกา
จึงไม่ต้องแปลกใจ หากเกลือสีชมพูเหล่านี้จะถูกแปะฉลากข้างขวดว่า Made in India และขายในราคาที่สูงขึ้น เกือบ 7-8 เท่าตัวของราคาที่รับซื้อมาจากปากีสถาน
จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า เกลือหิมาลายันระดับพรีเมียมนี้ มาจากอินเดีย
หลังจากนั้น เกลือหิมาลายัน ก็ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา
โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเกลือหิมาลายันมาใช้งานอย่างหลากหลายในสินค้าอุปโภคบริโภค
ไม่ว่าจะเป็น อาหาร, กระเบื้อง, โคมไฟ, สปา และเป็นส่วนผสมในสกินแคร์
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเกลือหิมาลายันจะขายได้ในราคาดี หรือได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกมากแค่ไหนก็ตาม
แต่ชื่อของ “ปากีสถาน” กลับไม่ได้ถูกพูดถึง และไม่ได้รับผลประโยชน์ใด ๆ
แล้ว ชาวปากีสถาน ทำอย่างไร ?
เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ ชาวปากีสถานจึงต้องการประกาศให้ทั้งโลกรู้ว่า “เกลือหิมาลายัน” เป็นของประเทศตัวเอง จนเกิดกระแสทวงเกลือคืนด้วยแฮชแทก “Upmarket salt is Pakistani”
เพื่อเป็นการบอกให้คนทั่วโลกรับรู้ว่า เกลือสีชมพูนี้เป็นของปากีสถาน
ต่อมาในปี 2019 รัฐบาลปากีสถาน ออกคำสั่งระงับการส่งออกเกลือหิมาลายันไปยังประเทศอินเดีย
ทำให้อินเดียสูญเสียรายได้จากการส่งออกเกลือหิมาลายันเป็นอย่างมาก
แต่เรื่องของเกลือหิมาลายันของชาวปากีสถานก็ไม่ได้ง่ายแบบนั้น
เพราะอุปสรรคด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ และขั้นตอนในการผลิต เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานการนำเข้าของสากลก็เป็นเรื่องยากสำหรับชาวปากีสถาน
จึงทำให้มีผู้ผลิตชาวปากีสถานอยู่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น ที่สามารถส่งออกเกลือหิมาลายันไปยังต่างประเทศได้
ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้ ปากีสถานยังคงส่งออกเกลือหิมาลายันไปยังอินเดียในสัดส่วน 23% ของการส่งออกทั้งหมด
แต่มีข้อตกลงว่า อินเดีย จะต้องบอกแหล่งที่มาของเกลือหิมาลายันว่ามาจาก ปากีสถาน
พอเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ “ปากีสถาน” เป็นที่รู้จักมากขึ้นว่าเป็นแหล่งผลิตของ เกลือหิมาลายัน นั่นเอง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว เกลือหิมาลายัน ที่ขายในไทย มาจากปากีสถานทั้งหมดเลยหรือไม่ ?
คงต้องเล่าก่อนว่า ในปัจจุบันแหล่งของเกลือสีชมพูจากธรรมชาติที่มีชื่อเสียง มีอยู่ 3 แหล่งหลัก ๆ คือ
- เกลือสีชมพูหิมาลัยของปากีสถาน
- เกลือสีชมพูของเปรู
- เกลือสีชมพูจากแม่น้ำเมอร์รีย์ ของออสเตรเลีย
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่า เราอาจกำลังบริโภคเกลือที่มาจากทั้ง 3 แหล่งนี้ ซึ่งเกลือที่นำเข้าจากแหล่งที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ ย่อมต้องมีราคาที่สูงตามมาด้วย เช่น
- แบรนด์ Kurera 1 ขวด ปริมาณ 250 กรัม ราคาประมาณ 390 บาท
- แบรนด์ McCormick 1 ขวด ปริมาณ 70 กรัม ราคาประมาณ 124 บาท
และถ้าหากลองอ่านดูที่ฉลากหลังขวด ก็จะพบกับข้อความที่บอกว่า “เกลือนี้ผลิตจากบริเวณเทือกเขาหิมาลัยในปากีสถาน”
แล้ว รสชาติของเกลือหิมาลายัน เป็นอย่างไร ?
หากใครที่เคยทานแล้วอาจมีความคิดเห็นว่า เกลือหิมาลายันมีรสชาติที่อร่อยกว่าเกลือชนิดอื่น ๆ
แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับรู้รสชาติของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน
ถ้าถามว่าแล้ว ทำไมเกลือหิมาลายันถึงมีสีชมพู
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ปกติแล้วเกลือจะประกอบไปด้วย โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สีของเกลือทั่วไปมีสีขาว
แต่สิ่งที่ทำให้เกลือมีสีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่ผสมอยู่ เช่น ธาตุแมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียม ทำให้เกลือกลายเป็นสีชมพู
แต่ถ้าหากอ้างอิงจากงานวิจัย ถึงแม้ว่าเกลือหิมาลายันจะมีแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ มากกว่าเกลือสีขาว
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เกลือหิมาลายันจะมีประโยชน์มากกว่าเกลือชนิดอื่นอย่างชัดเจน
เพราะปริมาณแร่ธาตุที่มีนั้น ถือว่าน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับปริมาณที่ร่างกายได้รับ แล้วจะเห็นผลทางสุขภาพ
กล่าวโดยรวมแล้ว เกลือหิมาลายัน มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ต่างอะไรกับเกลือทั่วไป
เพียงแต่มีสีชมพูที่สวยกว่าเกลือชนิดอื่น ๆ ประกอบกับคำโฆษณาด้านสุขภาพ จึงช่วยสร้างภาพจำที่ดี และสร้างมูลค่าในตัวเอง ทำให้สามารถตั้งราคาขายที่แพงกว่าปกติได้ไม่ยาก..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ..
ตลอด 150 ปีที่ผ่านมา หลังจากเปิดเหมือง Khewra ในปี 1872 มีการขุดเกลือไปแล้ว 220 ล้านตัน หรือเฉลี่ยปีละ 1.5 ล้านตัน
ข้อมูลจาก Saltean คาดการณ์ว่าเหมือง Khewra มีเกลือสีชมพูทั้งหมด 6,600 ล้านตัน
ซึ่งนั่นหมายความว่า เรายังสามารถขุดเกลือสีชมพูจากเหมืองนี้ได้อีกนานกว่า 4,200 ปี..
References
-https://www.businessinsider.com/how-800-million-pounds-of-himalayan-salt-are-mined-yearly-2021-2
-https://www.businessinsider.com/pink-himalayan-salt-expensive-health-benefits-minerals-2019-6
-https://time.com/4834865/himalayan-pink-salt-benefits/
-https://www.myrecipes.com/extracrispy/why-is-himalayan-salt-pink
-https://www.npr.org/sections/thesalt/2019/10/03/763960436/pakistan-wants-you-to-know-most-pink-himalayan-salt-doesnt-come-from-india
-https://en.wikipedia.org/wiki/Himalayan_salt
-https://www.vegkitchen.com/a-guide-to-salt-varieties/
-https://www.saltean.com/khewra-salt-mine/
ถ้าใครเคยเข้าร้านสเต๊ก แล้วสังเกตเห็นขวดที่บรรจุก้อนเกลือสีชมพูวางอยู่บนโต๊ะอาหาร
หรือถ้าพิเศษกว่านั้น ก็น่าจะเป็น เมนูเนื้อย่างชั้นดีเสิร์ฟบนก้อนเกลือสีชมพูขนาดใหญ่..
รู้หรือไม่ว่า เกลือสีชมพูที่ว่านี้ มีชื่อเรียกว่า “เกลือหิมาลายัน”
ว่าแต่ความน่าสนใจของเกลือชนิดนี้เป็นอย่างไร ?
BrandCase จะสรุปให้ฟัง
ถ้าได้ยินชื่อของ “เกลือหิมาลายัน” หลายคนอาจคิดว่า เกลือชนิดนี้มีที่มาจากเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศอินเดีย
แต่ความจริงแล้ว เกลือชนิดนี้กลับถูกขุดขึ้นมาจากในเหมืองเกลือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ชื่อ Khewra ในประเทศปากีสถาน บริเวณใกล้เคียงกับเทือกเขาหิมาลัย
แล้ว เกลือหิมาลายัน ถูกค้นพบได้อย่างไร ?
เกลือสีชมพูนี้ ถูกค้นพบว่าน่าจะเกิดขึ้นจากการตกผลึกของทะเลโบราณ
ตามหลักฐานอ้างอิงที่มีการบันทึกถึงเกลือสีชมพูนี้เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 13 จากการขุดพบของกลุ่มชนเผ่า Janjua Raja
โดยเกลือสีชมพูนี้ ถูกขุดขึ้นมาจากเหมืองเกลือ Khewra ในเทือกเขาเกลือ ที่รัฐปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
ที่อยู่ห่างจากเทือกเขาหิมาลัยประมาณเกือบ 300 กิโลเมตร
ในตอนแรกนั้น ปากีสถานยังไม่สามารถแปรรูปเกลือสีชมพูดิบได้
ทำให้เกลือส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างอินเดีย ในราคาที่ถูกมาก แล้วอินเดียก็นำเกลือเหล่านั้น มาบรรจุและส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ อีกที เช่น สหรัฐอเมริกา
จึงไม่ต้องแปลกใจ หากเกลือสีชมพูเหล่านี้จะถูกแปะฉลากข้างขวดว่า Made in India และขายในราคาที่สูงขึ้น เกือบ 7-8 เท่าตัวของราคาที่รับซื้อมาจากปากีสถาน
จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า เกลือหิมาลายันระดับพรีเมียมนี้ มาจากอินเดีย
หลังจากนั้น เกลือหิมาลายัน ก็ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา
โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเกลือหิมาลายันมาใช้งานอย่างหลากหลายในสินค้าอุปโภคบริโภค
ไม่ว่าจะเป็น อาหาร, กระเบื้อง, โคมไฟ, สปา และเป็นส่วนผสมในสกินแคร์
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเกลือหิมาลายันจะขายได้ในราคาดี หรือได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกมากแค่ไหนก็ตาม
แต่ชื่อของ “ปากีสถาน” กลับไม่ได้ถูกพูดถึง และไม่ได้รับผลประโยชน์ใด ๆ
แล้ว ชาวปากีสถาน ทำอย่างไร ?
เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ ชาวปากีสถานจึงต้องการประกาศให้ทั้งโลกรู้ว่า “เกลือหิมาลายัน” เป็นของประเทศตัวเอง จนเกิดกระแสทวงเกลือคืนด้วยแฮชแทก “Upmarket salt is Pakistani”
เพื่อเป็นการบอกให้คนทั่วโลกรับรู้ว่า เกลือสีชมพูนี้เป็นของปากีสถาน
ต่อมาในปี 2019 รัฐบาลปากีสถาน ออกคำสั่งระงับการส่งออกเกลือหิมาลายันไปยังประเทศอินเดีย
ทำให้อินเดียสูญเสียรายได้จากการส่งออกเกลือหิมาลายันเป็นอย่างมาก
แต่เรื่องของเกลือหิมาลายันของชาวปากีสถานก็ไม่ได้ง่ายแบบนั้น
เพราะอุปสรรคด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ และขั้นตอนในการผลิต เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานการนำเข้าของสากลก็เป็นเรื่องยากสำหรับชาวปากีสถาน
จึงทำให้มีผู้ผลิตชาวปากีสถานอยู่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น ที่สามารถส่งออกเกลือหิมาลายันไปยังต่างประเทศได้
ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้ ปากีสถานยังคงส่งออกเกลือหิมาลายันไปยังอินเดียในสัดส่วน 23% ของการส่งออกทั้งหมด
แต่มีข้อตกลงว่า อินเดีย จะต้องบอกแหล่งที่มาของเกลือหิมาลายันว่ามาจาก ปากีสถาน
พอเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ “ปากีสถาน” เป็นที่รู้จักมากขึ้นว่าเป็นแหล่งผลิตของ เกลือหิมาลายัน นั่นเอง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว เกลือหิมาลายัน ที่ขายในไทย มาจากปากีสถานทั้งหมดเลยหรือไม่ ?
คงต้องเล่าก่อนว่า ในปัจจุบันแหล่งของเกลือสีชมพูจากธรรมชาติที่มีชื่อเสียง มีอยู่ 3 แหล่งหลัก ๆ คือ
- เกลือสีชมพูหิมาลัยของปากีสถาน
- เกลือสีชมพูของเปรู
- เกลือสีชมพูจากแม่น้ำเมอร์รีย์ ของออสเตรเลีย
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่า เราอาจกำลังบริโภคเกลือที่มาจากทั้ง 3 แหล่งนี้ ซึ่งเกลือที่นำเข้าจากแหล่งที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ ย่อมต้องมีราคาที่สูงตามมาด้วย เช่น
- แบรนด์ Kurera 1 ขวด ปริมาณ 250 กรัม ราคาประมาณ 390 บาท
- แบรนด์ McCormick 1 ขวด ปริมาณ 70 กรัม ราคาประมาณ 124 บาท
และถ้าหากลองอ่านดูที่ฉลากหลังขวด ก็จะพบกับข้อความที่บอกว่า “เกลือนี้ผลิตจากบริเวณเทือกเขาหิมาลัยในปากีสถาน”
แล้ว รสชาติของเกลือหิมาลายัน เป็นอย่างไร ?
หากใครที่เคยทานแล้วอาจมีความคิดเห็นว่า เกลือหิมาลายันมีรสชาติที่อร่อยกว่าเกลือชนิดอื่น ๆ
แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับรู้รสชาติของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน
ถ้าถามว่าแล้ว ทำไมเกลือหิมาลายันถึงมีสีชมพู
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ปกติแล้วเกลือจะประกอบไปด้วย โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สีของเกลือทั่วไปมีสีขาว
แต่สิ่งที่ทำให้เกลือมีสีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่ผสมอยู่ เช่น ธาตุแมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียม ทำให้เกลือกลายเป็นสีชมพู
แต่ถ้าหากอ้างอิงจากงานวิจัย ถึงแม้ว่าเกลือหิมาลายันจะมีแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ มากกว่าเกลือสีขาว
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เกลือหิมาลายันจะมีประโยชน์มากกว่าเกลือชนิดอื่นอย่างชัดเจน
เพราะปริมาณแร่ธาตุที่มีนั้น ถือว่าน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับปริมาณที่ร่างกายได้รับ แล้วจะเห็นผลทางสุขภาพ
กล่าวโดยรวมแล้ว เกลือหิมาลายัน มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ต่างอะไรกับเกลือทั่วไป
เพียงแต่มีสีชมพูที่สวยกว่าเกลือชนิดอื่น ๆ ประกอบกับคำโฆษณาด้านสุขภาพ จึงช่วยสร้างภาพจำที่ดี และสร้างมูลค่าในตัวเอง ทำให้สามารถตั้งราคาขายที่แพงกว่าปกติได้ไม่ยาก..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ..
ตลอด 150 ปีที่ผ่านมา หลังจากเปิดเหมือง Khewra ในปี 1872 มีการขุดเกลือไปแล้ว 220 ล้านตัน หรือเฉลี่ยปีละ 1.5 ล้านตัน
ข้อมูลจาก Saltean คาดการณ์ว่าเหมือง Khewra มีเกลือสีชมพูทั้งหมด 6,600 ล้านตัน
ซึ่งนั่นหมายความว่า เรายังสามารถขุดเกลือสีชมพูจากเหมืองนี้ได้อีกนานกว่า 4,200 ปี..
References
-https://www.businessinsider.com/how-800-million-pounds-of-himalayan-salt-are-mined-yearly-2021-2
-https://www.businessinsider.com/pink-himalayan-salt-expensive-health-benefits-minerals-2019-6
-https://time.com/4834865/himalayan-pink-salt-benefits/
-https://www.myrecipes.com/extracrispy/why-is-himalayan-salt-pink
-https://www.npr.org/sections/thesalt/2019/10/03/763960436/pakistan-wants-you-to-know-most-pink-himalayan-salt-doesnt-come-from-india
-https://en.wikipedia.org/wiki/Himalayan_salt
-https://www.vegkitchen.com/a-guide-to-salt-varieties/
-https://www.saltean.com/khewra-salt-mine/