วิเคราะห์ว่า ทำไม Shopee รุกธุรกิจฟูดดิลิเวอรี ทั้งที่ตลาดนี้ เป็นทะเลเลือด

วิเคราะห์ว่า ทำไม Shopee รุกธุรกิจฟูดดิลิเวอรี ทั้งที่ตลาดนี้ เป็นทะเลเลือด

12 มี.ค. 2022
วิเคราะห์ว่า ทำไม Shopee รุกธุรกิจฟูดดิลิเวอรี ทั้งที่ตลาดนี้ เป็นทะเลเลือด | BrandCase
ตลาดฟูดดิลิเวอรีในเมืองไทย ถือเป็นหนึ่งใน “Red Ocean” หรือตลาดที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด
ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดมีทั้ง Grab, Foodpanda, LINE MAN
บริษัทที่ว่ามาเหล่านี้ขาดทุนกันอย่างหนักหน่วง
เพราะต้องอัดโปรโมชัน โคดส่วนลดต่าง ๆ มากมาย
เพื่อดึงลูกค้าให้มาใช้งานแพลตฟอร์มของตัวเองอยู่ตลอด
คำถามคือ ทำไม Shopee ยังกล้ารุกธุรกิจฟูดดิลิเวอรี ?
เรื่องนี้ คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO ของบริษัท Sea (ประเทศไทย) เจ้าของ Shopee เคยเล่าเอาไว้ในงาน Next New NORM for Future Business ที่จัดโดยเพจ ลงทุนแมน ว่า
จริง ๆ แล้ว Shopee พยายามคิดบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันมาโดยตลอด
และก็คิดกันว่า อย่างหนึ่งที่จะเป็น Demand หรือความต้องการจากผู้ใช้ ก็คือ “อาหาร”
ShopeeFood ก็เลยเกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ตรงนี้
ที่น่าสนใจคือ แทนที่จะถูกทำออกมาเป็นแอปพลิเคชันใหม่ ShopeeFood กลับเข้าไปอยู่ในแอปพลิเคชัน Shopee เลย
ที่เป็นแบบนี้ก็วิเคราะห์ได้ว่า
เพราะแอปพลิเคชัน Shopee มีผู้ใช้งานหลายสิบล้านบัญชีอยู่แล้วทั่วประเทศไทย แค่เปิดแอปพลิเคชัน Shopee ขึ้นมาก็สั่งอาหารได้เลย ไม่ต้องไปทำแอปพลิเคชันใหม่ ให้ต้องยุ่งยากในการดาวน์โหลด
แถมแต่ละบัญชีก็มีข้อมูลของผู้ใช้งาน ข้อมูลที่อยู่จัดส่ง ครบถ้วนหมดแล้ว
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ Coins ที่ได้มาจากการซื้อสินค้า หรือเล่นเกมในแอปพลิเคชัน Shopee มาเป็นส่วนลดได้อีกด้วย
ส่วนเรื่องการเข้ามาในตลาดนี้ แล้วอาจต้องขาดทุน ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ Shopee คิดวิเคราะห์ และเตรียมตัวมาแล้ว
สุดท้าย Shopee คงมองว่า มันคุ้ม ที่จะมีบริการนี้ขึ้นมา
เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศของ Shopee
ให้คนนึกถึงชื่อ Shopee ไม่ว่าอยากจะซื้อของ หรือในยามที่รู้สึกหิว
เพราะเมื่อมีคนเข้ามาสั่งอาหารผ่าน ShopeeFood
ไม่แน่ว่าเมื่อสั่งอาหารเสร็จ หลายคนอาจจะแวะช็อปปิงต่อ ในแอปพลิเคชัน Shopee ก็เป็นได้..
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.