อธิบายเรื่อง DJSI ดัชนีที่ บริษัทท็อป ๆ ในไทย ติดอันดับกัน

อธิบายเรื่อง DJSI ดัชนีที่ บริษัทท็อป ๆ ในไทย ติดอันดับกัน

23 มี.ค. 2024
อธิบายเรื่อง DJSI ดัชนีที่ บริษัทท็อป ๆ ในไทย ติดอันดับกัน | BrandCase
ถ้าพูดถึงสัญลักษณ์ในวงการร้านอาหาร ที่แสดงถึงคุณภาพ มาตรฐาน และการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ก็จะมีรางวัลอย่าง มิชลินสตาร์
แต่รู้หรือไม่ว่า ในวงการ ESG ก็มีสัญลักษณ์ที่คล้าย ๆ กันนี้เช่นกัน
คือดัชนีที่ชื่อว่า Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI
DJSI เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงคุณภาพ มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล ในฐานะหุ้นยั่งยืนระดับโลก
จนเป็นที่ต้องการของบริษัทท็อป ๆ ที่จะได้เข้าร่วมในดัชนีนี้
ซึ่งปีที่ผ่าน ๆ มา ก็มีหลายบริษัทไทย ติดเข้าไปในดัชนี DJSI ไม่น้อยเหมือนกัน
ดัชนี DJSI คืออะไร ? แล้วทำไมบริษัทระดับท็อป ๆ ถึงอยากจะเข้าร่วม ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ดัชนี DJSI เปิดตัวครั้งแรกในปี 2542 ถูกพัฒนาโดย RobecoSAM ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน ร่วมกับ S&P DowJones Indices แหล่งข้อมูลระดับโลกด้านแนวคิด ข้อมูล และการวิจัยดัชนีที่สำคัญ
โดยเป็นดัชนีที่คัดเลือก “หุ้นยั่งยืนระดับโลก”
คือต้องเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีความโดดเด่นในการทำธุรกิจ และคำนึงถึงประเด็นเรื่องความยั่งยืนเป็นหลัก
คำถามคือ แล้วมันมีขั้นตอนการคัดกรองบริษัททั่วโลก เข้ามาในดัชนีนี้อย่างไร ?
เริ่มจากลิสต์รายชื่อบริษัทที่ได้เข้าร่วมในการประเมินความยั่งยืนขององค์กร หรือ CSA (The Global Corporate Sustainability Assessment) โดย S&P Global
ซึ่งเป็นการตั้งต้นจากประมาณ 13,000 บริษัท จาก 62 อุตสาหกรรม ทั่วโลก
คัดเลือกเฉพาะบริษัทที่ใหญ่สุดจากแต่ละอุตสาหกรรม จนได้ 3,500 บริษัท ในการพิจารณาเข้าร่วมดัชนี DJSIนำ 3,500 บริษัทที่ได้ ไปประเมินโดย CSA ผ่านคำถามด้าน ESG จำนวน 80-100 ข้อ และให้คะแนนตามเกณฑ์ของ CSAเรียงลำดับบริษัทจากแต่ละอุตสาหกรรมที่ผ่านการประเมินของ CSA ตามคะแนนที่ได้จาก 0 ไปถึง 100สุดท้ายก็นำบริษัทที่ผ่านการเรียงคะแนนมาแล้ว ไปจัดอยู่ในดัชนี DJSI ประเภทต่าง ๆ จำนวน 8 แบบ ตามเกณฑ์ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศดังนี้
คะแนนสูงสุด Top 10% ให้อยู่ในดัชนีระดับโลก ได้แก่ DJSI Worldคะแนนสูงสุด Top 20% ให้อยู่ในดัชนีระดับภูมิภาค ได้แก่ DJSI North America, DJSI Europe, DJSI Asia Pacific และ DJSI Emerging Marketsคะแนนสูงสุด Top 30% ให้อยู่ในดัชนีระดับประเทศ ได้แก่ DJSI Korea, DJSI Australia, DJSI Chile และ DJSI MILA Pacific Alliance
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา มีบริษัทไทยถึง 29 บริษัทด้วยกัน ที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในดัชนี DJSI แบ่งเป็น
บริษัทที่อยู่ในทั้งดัชนี DJSI World และ DJSI Emerging Markets จำนวน 12 บริษัท ได้แก่
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)เอสซีบี เอกซ์บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชันบมจ.ซีพี ออลล์บมจ.ปตท.บมจ.ไทยเบฟเวอเรจบมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (บีดีเอ็มเอส)บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์สบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอลบมจ.ปูนซิเมนต์ไทยบมจ.เซ็นทรัลพัฒนาบมจ.ท่าอากาศยานไทย
บริษัทที่อยู่เฉพาะดัชนี DJSI World จำนวน 3 บริษัท ได้แก่
บมจ.ปตท.สผ.บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
บริษัทที่อยู่ในเฉพาะดัชนี DJSI Emerging Markets จำนวน 14 บริษัท ได้แก่
บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก(โออาร์)บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ปบมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์บมจ.บ้านปูบมจ.ไออาร์พีซีบมจ.ไทยออยล์บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหารบมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ปบมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้งบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์บมจ.ผลิตไฟฟ้าบมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่
แล้วทำไมบริษัทระดับท็อป ๆ ถึงอยากจะเข้าร่วม ?
นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบัน มักจะให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับหุ้นที่ถูกเลือกเข้าดัชนี DJSI เนื่องจากเป็นดัชนีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสร้างโอกาสการลงทุนด้วยหุ้นยั่งยืน บริษัทที่อยู่ใน DJSI ต้องมีคะแนนประเมิน ESG ครบทุกด้าน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเทรนด์การลงทุนในระยะยาวที่กำลังเติบโตผลตอบแทนรวมสะสมย้อนหลังอยู่ในเกณฑ์ดี จากการทดลองสร้างพอร์ตลงทุนของ ฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่วงปี 2559-2564
ด้วยการเลือกบริษัทจดทะเบียนไทยที่อยู่ในดัชนี DJSI EM และปรับพอร์ตตามการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของดัชนีรายปี (Annual Rebalancing)
พบว่าผลตอบแทนรวมสะสมย้อนหลัง 5 ปี (ม.ค. 2559 – 17 ก.พ. 2564) อยู่ที่ 51% สำหรับพอร์ตลงทุนที่ใช้การถ่วงน้ำหนักแบบเท่ากัน (Equal Weighting) ซึ่งสูงกว่าผลตอบแทนของดัชนี SET100 TRI ที่ระดับ 38%
อ่านมาถึงตรงนี้ คงเห็นได้ว่าด้วยความที่ DJSI เป็นดัชนีที่มีการคัดเลือกบริษัทที่จะมาเข้าร่วมอย่างเข้มข้น และมีมาตรฐานที่ค่อนข้างสูง ในฐานะหุ้นยั่งยืนระดับโลก
อีกทั้งยังเป็นที่สนใจและให้การยอมรับของเหล่านักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนสถาบัน
ก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมบริษัทระดับท็อป ๆ หลายแห่ง ถึงอยากจะเข้าร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในดัชนีนี้..
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.